วิถีแห่งความรู้แจ้ง

วิถีแห่งความรู้แจ้งถึงพระสัทธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่การเจริญสติ นอกจากการเจริญสติแล้ว ไม่มีหนทางแห่งความรู้แจ้งทางที่สอง

การเจริญสติ หรือการทําความรู้ตัว เป็นวิถีทางที่ตรงไปตรงมาที่สุด ที่จะพาเราแหวกออกจากโลกของความปรุงแต่ง หรือความคิดนึกทั้งหลาย ซึ่งปิดกั้นเราไว้จากสัจธรรมที่แท้จริง ทันทีที่เราแยกตนเองออกจากโลกของความคิดปรุงแต่งได้ จิตของเราจะ มีคุณภาพที่จะมองเห็นปรมัตถธรรมที่กําลังปรากฏและเกิดดับ ได้แก่จิตและเจตสิก อัน เป็นฝ่ายนามธรรมและรูปธรรมทั้งปวง เมื่อจิตรู้แจ้งและปล่อยวางปรมัตถธรรม ฝ่ายรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว เราก็จะบรรลุถึงสัจจะอันแท้จริง ซึ่งอยู่เหนือความปรุงแต่งทั้งปวง

การบรรลุถึงสัจจะที่จะเหนือความปรุงแต่ง จะกระทําไม่ได้ด้วยการปฏิบัติที่เป็น ความปรุงแต่ง อาทิ การทําทาน การถือศีล และการทําสมาธิที่ถูกต้อง (ไม่ต้องกล่าวถึง การทําทาน การถือศีล และการทําสมาธิที่ผิด คือเจือด้วยโมหะและโลภะ) ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดความตระหนี่ก็ทําทานเพื่อลดความตระหนี่ เมื่อถูกราคะและโทสะครอบงําจิตใจ จนล้นออกมาเป็นการทําผิดทางกายและวาจา ก็ถือศีลเพื่อเป็นกรอบกั้นการทําผิดทางกายและวาจาไว้ก่อน หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่านก็ทําความสงบ เมื่อมีกามราคะก็พิจารณาอสุภะ ฯลฯ ส่ิงเหล่านี้ แม้จะเป็นประโยชน์มากและควรทํา แต่ก็เปรียบเหมือนกับการแก้อาการของโรคเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นการขจัดต้นตอหรือสาเหตุของโรค

การจะปฏิบัติจนจิตเข้าใจถึงสภาพธรรมที่เหนือความปรุงแต่ง จะกระทําได้ด้วยการลืมตาตื่นออกจากโลกของความคิดฝันปรุงแต่ง แล้วหันหน้ามาเผชิญกับปรมัตถธรรมท่ีกําลังปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลาง พ้นจากความหลงยินดียินร้ายแม้แต่กับกิเลสบาป ธรรม ไม่เพ่งจ้อง และไม่เผลอเติมความคิดปรุงแต่งลงในการรับรู้ นี้คือวิถีที่จะรีดกระแสความคิดปรุงแต่งให้เรียวเล็กจนขาดลง เมื่อกระแสของความปรุงแต่งขาดลง สภาพธรรมที่พ้นจากความปรุงแต่งก็จะปรากฏออกมาเอง

การทําความรู้ตัว เป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย เพราะเราคุ้นเคยแต่กับความไม่รู้ตัวแล้ว หลงอยู่ในโลกของความคิดฝ้น จึงจําเป็นที่เราจะต้องศึกษา ทําความเข้าใจ แล้วลงมือ ปฏิบัติอย่างจริงใจ

หนังสือเล่มนี้ ได้นําเสนอข้อเขียนบางส่วนของอุบาสกนักปฏิบัติผู้หนึ่งคือ นาย ปราโมทย์ สันตยากร / “สันตินันท์” / “อุบาสกนิรนาม” ทั้ง 4 เรื่อง มีสาระเดียวกันคือ นําเสนอแนวทางการเจริญสติ เพียงแต่มีความยากง่ายในการอธิบายแตกต่างกัน นับตั้งแต่

(1) เรื่อง “แด่เธอผู้มาใหม่ : เรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่าธรรมะ” จะเป็นการนําเสนอสําหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

(2) เรื่อง “แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป” เป็นการขยายความให้ลึกลง

(3) เรื่อง “แนวทางปฏิบัติธรรม ของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)” เป็นการแจกแจงการปฏิบัติแบบหนึ่ง ของศิษย์ผู้หนึ่ง ซึ่งได้รับการชี้แนะแก่นคําสอนในเชิงปฏิบัติจากหลวงปู่ดูลย์ (ควรเข้าใจ ว่า ศิษย์ท่านอื่นก็อาจมีวิธีการปฏิบัติตามแก่นคําสอนของหลวงปู่ แตกต่างกันบ้างตาม จริตนิสัย) และ

(4) เรื่อง “การดูจิต : ความหมาย วิธีการ และผลของการปฏิบัติ” เป็น การอธิบายในเชิงวิชาการ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างนักปริยัติกับนักปฏิบัติ

 

ขอชาวพุทธจงรู้จักวิถีแห่งความรู้แจ้ง และมีส่วนแห่งความรู้แจ้งตามรอยบาทของพระศาสดาโดยทั่วถึงกันเทอญ

 

๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔

Download PDF หนังสือวิถีแห่งความรู้แจ้ง 1-2

คลิกที่นี่เพื่อติดต่อขอรับหนังสือจากมูลนิธิสื่อธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช