ธรรมะที่มีเฉพาะในคำสอนของพระพุทธเจ้า
นิพพานคือความสงบ นิพพานคือสันติ
ลักษณะของนิพพาน คือความสงบ และนิพพานนั้นเป็นบรมสุข ถ้าเราสัมผัสพระนิพพาน เราจะได้รับความสงบสุข เราจะได้รับอิสรภาพด้วย ความสุขอันนี้ไม่ขึ้นอยู่กับคนอื่น ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ไม่ขึ้นอยู่กับว่า ต้องเห็นรูปอย่างนี้ ต้องได้ยินเสียงอย่างนี้ ต้องมีอารมณ์ทางใจอย่างนี้ หรือต้องไม่เห็นรูปอย่างนี้ ต้องไม่ได้ยินเสียงอย่างนี้ ต้องไม่มีอารมณ์อย่างนี้ มันจะไม่ขึ้นกับอารมณ์ ไม่ขึ้นกับอะไรทั้งสิ้น จะเป็นอิสรภาพอย่างแท้จริง
ธรรมะอย่างนี้ มีเฉพาะในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราสามารถฝึกฝนตัวเอง จนกระทั่งวันหนึ่งเราจะไม่มีความทุกข์ทางใจเกิดขึ้น และสิ่งที่ได้มา คือ ความสุขที่ไม่มีอะไรเหมือน ความสุขที่อิสระอย่างแท้จริง
เส้นทางเดินที่พระอรหันต์ทั้งหลายท่านเดินกัน
พยายามฝึกตัวเอง จนกระทั่งพึ่งตัวเองได้ เรามีความสุขอยู่ในตัวของตัวเอง ไม่ใช่ความสุขที่อาศัยคนอื่น อาศัยสิ่งอื่น
ความสุขอันนี้จะเกิดได้ เมื่อเรารู้ความจริง ของร่างกายจิตใจอย่างถ่องแท้แล้ว ความอยากจะไม่มี พอความอยากไม่มี ความดิ้นรนของใจก็ไม่เกิด เมื่อความดิ้นรนของใจไม่เกิด ใจเข้าถึงความสงบสุขที่แท้จริง
นี่คือเส้นทางเดินที่พระอรหันต์ทั้งหลายท่านเดินกัน งานของเราที่ต้องทำมีไม่มาก งานของเราคือ เรียนรู้ความจริงของร่างกายของจิตใจ การเรียนรู้ความจริงของร่างกายจิตใจ เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน
-- พระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม วันที่ 9 มีนาคม 2562 ไฟล์ 620309A ซีดีแผ่นที่ 81
File | Action |
---|---|
ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๑ พ.ค. ๒๕๖๒ (620511B) | Download |
รู้เท่าทัน จนพ้นความปรุงแต่ง : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๑ พ.ค. ๒๕๖๒ (620511A) | Download |
ไม่ได้จิต ไม่ได้ธรรมะ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๕ พ.ค. ๒๕๖๒ (620505) | Download |
มีสติกับสมาธิ เห็นไตรลักษณ์ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๔ พ.ค. ๒๕๖๒ (620504B) | Download |
สู้กิเลส ฝึกตัวเอง : หลวงพ่อปราโมทย์ ๔ พ.ค. ๒๕๖๒ (620504A) | Download |
ธรรมะคือเรื่องของตัวเราเอง : หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๘ เม.ย. ๒๕๖๒ (620428) | Download |
การภาวนาสำหรับผู้สูงอายุ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๗ เม.ย. ๒๕๖๒ (620427B) | Download |
เรียนจากของที่มีจริง : หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๗ เม.ย. ๒๕๖๒ (620427A) | Download |
จิตตั้งมั่นและเป็นกลาง : หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๑ เม.ย. ๒๕๖๒ (620421B) | Download |
เวทนาของจิต : หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๑ เม.ย. ๒๕๖๒ (620421A) | Download |
ปล่อยจิตให้ทำงาน : หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๐ เม.ย. ๒๕๖๒ (620420B) | Download |
ตั้งมั่น เป็นกลาง ไม่ขี้เกียจ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๐ เม.ย. ๒๕๖๒ (620420A) | Download |
ตราบใดยังมีกิเลส ต้องปฏิบัติ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๕ เม.ย. ๒๕๖๒ (620415B) | Download |
คิดดีก็ใจเย็น คิดไม่เป็นจะเย็นสบาย : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๕ เม.ย. ๒๕๖๒ (620415A) | Download |
สมดุลของจิต : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๔ เม.ย. ๒๕๖๒ (620414B) | Download |
รู้ทันลงที่จิต สติปัญญาซักฟอกในจิต : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๔ เม.ย. ๒๕๖๒ (620414A) | Download |
ไม่มีผู้รู้ แยกขันธ์ไม่เป็น : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๓ เม.ย. ๒๕๖๒ (620413B) | Download |
อย่าเกลียดทุกข์ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๓ เม.ย. ๒๕๖๒ (620413A) | Download |
วิธีให้เกิดจิตรู้ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๗ เม.ย. ๒๕๖๒ (620407B) | Download |
โลกุตรธรรม : หลวงพ่อปราโมทย์ ๗ เม.ย. ๒๕๖๒ (620407A) | Download |
เริ่มต้นที่คิดดี : หลวงพ่อปราโมทย์ ๖ เม.ย. ๒๕๖๒ (620406B) | Download |
จิตตสิกขา : หลวงพ่อปราโมทย์ ๖ เม.ย. ๒๕๖๒ (620406A) | Download |
ไม่ได้ปฏิบัติ เพื่อห้ามไม่ให้จิตเคลื่อน : หลวงพ่อปราโมทย์ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๒ (620331B) | Download |
วิธีแก้ทุกข์ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๒ (620331A) | Download |
ฝึกสติ ไม่ได้ฝึกเพื่อละกิเลส : หลวงพ่อปราโมทย์ ๓๐ มี.ค. ๒๕๖๒ (620330B) | Download |
รู้เท่าทันความปรุงแต่ง : หลวงพ่อปราโมทย์ ๓๐ มี.ค. ๒๕๖๒ (620330A) | Download |
เทคนิคการทำกรรมฐาน : หลวงพ่อปราโมทย์ ๒๔ มี.ค. ๒๕๖๒ (620324) | Download |
รู้สึกตัว : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๗ มี.ค. ๒๕๖๒ (620317B) | Download |
หลักในการฝึกจิตใจ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๗ มี.ค. ๒๕๖๒ (620317A) | Download |
ความทุกข์ เป็นทรัพยากรในการปฏิบัติ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๖ มี.ค. ๒๕๖๒ (620316B) | Download |
ความปรุงแต่ง : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๖ มี.ค. ๒๕๖๒ (620316A) | Download |
ทิ้งปัจจุบันเมื่อไร พลาดทันที : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๒ (620313B) | Download |
สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นต้องดับ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๓ มี.ค. ๒๕๖๒ (620313A) | Download |
เจริญปัญญาไม่เป็น ยังภูมิใจไม่ได้ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๑๐ มี.ค. ๒๕๖๒ (620310) | Download |
เรียนธรรมคู่ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๙ มี.ค. ๒๕๖๒ (620309B) | Download |
เส้นทางสู่ความพ้นทุกข์ : หลวงพ่อปราโมทย์ ๙ มี.ค. ๒๕๖๒ (620309A) | Download |