หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
มีสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
หลักของการปฏิบัติที่จะให้เกิดสติปัญญาแท้ๆ เกิดมรรคเกิดผลได้ มีไม่มากหรอก จำหลักสั้นๆ ไว้นิดเดียว
ให้เรามีสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
หลวงพ่อไปรวบรวมหลักของการทำวิปัสสนากรรมฐาน ย่อลงมาเหลือเท่านี้เอง
ถ้าพูดให้ถูกๆ ก็มีสติรู้รูป รู้นาม ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
รูปธรรม นามธรรมนั่นเอง
เรียนรู้รูปธรรมนามธรรมที่ประกอบกันเป็นตัวเรา
ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
จากซีดีแสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗ ไฟล์ 531010A

รู้แจ้งแทงตลอดในขันธ์ 5

ทำสัมมาวายามะให้บริบูรณ์

กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ

จิตต้องมีกำลังของสมาธิ

สิ่งที่เรียกว่าทุกข์ก็คือขันธ์ 5

ความเพียรชอบ

อุดมการณ์ของชาววัดสวนสันติธรรม

ทำสมาธิด้วยความมีสติ

อยากเป็นพระโสดาบัน
“การปฏิบัติธรรมมี ๓ อัน อันแรก เราต้องรักษาศีล ๕ ข้อไว้ อันที่สอง คือการทำในรูปแบบ อันที่สาม คือการทำในชีวิตประจำวัน ต้องทำ
ครูบาอาจารย์ท่านสอน หัวใจของการปฏิบัติ คือ การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพราะว่าชีวิตส่วนใหญ่ของเราอยู่ธรรมดานี่เอง เราไม่ได้นั่งเข้าฌานอยู่ที่ไหนเมื่อไร วันๆ หนึ่งจะทำสมาธิ เดินจงกรมได้สักเท่าไร โดยเฉพาะฆราวาส ทำได้ไม่มาก ชีวิตส่วนใหญ่เราอยู่กับโลกธรรมดานี่เอง
ถ้าเราสามารถหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตธรรมดาของเรานี้ได้ เราก็จะไปได้เร็วมาก ไม่แพ้พระ ในขั้นต้นๆ โสดาฯ สกาทาคาฯ ฆราวาสไม่แพ้พระหรอกในเรื่องของความเร็ว ถ้ารู้หลักของการปฏิบัติ แล้วตั้งใจปฏิบัติจริงๆ อาจจะเร็วกว่าพระด้วยซ้ำไป”
พระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แผ่นที่ ๗๘ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ (ไฟล์ 611007A)
ธรรมะหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ช่วงส่งการบ้าน
กินยารักษาอาการซึมเศร้า อาการดีขึ้นบ้าง ภาวนามีความรู้สึกสะเทือนกลางอก ดูกายใจทำงาน แต่รู้สึกใช้กำลังมาก
เห็นจิตตัวผู้รู้ดูกายอยู่ รู้สึกตัวบ่อยมาก แต่ไม่ค่อยเห็นอารมณ์ที่มากระทบเหมือนกับรู้สึกทรงตัวอยู่เฉยๆ
เวลาโกรธแล้วรู้ทัน ความโกรธดับไป แต่ความโกรธก็ผุดขึ้นมาใหม่ อยากรู้ว่าถ้าสติตัวจริงเกิด ทำไมความโกรธยังผุดขึ้นมาเรื่อยๆ
รักกายมาก กลัวมันตาย เวลาภาวนาจึงมักจะน้อมจิตให้เบลอๆ ซึมๆ คิดว่าเวลาเหลือน้อยแล้ว อยากตั้งใจปฏิบัติ แต่พอร่างกายกลับมาแข็งแรง จิตก็กลับมาประมาทเหมือนเดิม ไม่เข็ดหลาบ
เห็นตัวเองมีกามราคะมาก จึงรักษาพรหมจรรย์อีก 1 ข้อ ขณะที่เห็นจิตเกิดราคะ โกรธหลง มันจะค่อยๆ หายไป
ไม่แน่ใจความหมายของคำว่าภาวนา พยายามรู้สึกตัว ดูข้อเสียเบื้องหลังของตัวเอง พื้นฐานคิดมาก วกวนและคิดร้าย
มีปัญหาครอบครัว และปัญหาของตัวเอง ทำให้จิตมีแต่โทสะและอกุศล การดูกายไม่เคยเห็นว่าไม่เที่ยง
หากรรมฐานที่ทำให้เกิดสติตั้งมั่นยังไม่ได้ แต่สังเกตเห็นว่าเวลาเดินจงกรมจะเห็นความคิด และรู้สึกตัวได้ดีกว่าการนั่งสมาธิ
หนูอยากบวชชี จำเป็นต้องบวชชีไหมคะ
ทำในรูปแบบด้วยการสวดมนต์ แล้วตามด้วยการนั่งสมาธิ ดูลมหายใจ แต่มักจะมีอาการเคลิ้มแล้วหลับ จึงทำให้นั่งได้ไม่นาน

(วันที่ 17 มิถุนายน 2565)
ตามที่วัดสวนสันติธรรมได้ประกาศปิดวัดสวนสันติธรรม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อตอบสนองต่อมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ของทางราชการนั้น
ขณะนี้สถานการณ์โรคระบาดได้ผ่อนคลายลงแล้ว วัดสวนสันติธรรมจึงขอแจ้งให้สาธุชนทั้งหลายทราบ ดังนี้
- เปิดให้สาธุชนเข้าวัดสวนสันติธรรมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 7.00 – 16.00 น.
- เปิดให้ทุกท่านเข้าฟังธรรมในศาลาใหญ่ได้ โดยใช้ระบบการจอง ซึ่งดำเนินการโดย มูลนิธิสื่อธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ทั้งนี้ผู้มีสิทธิ์จองจะต้องฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 3 เข็ม ซึ่งทางมูลนิธิฯจะประกาศวิธีการลงชื่อขอเข้าฟังธรรมให้ทราบต่อไป
- ทุกท่านจะต้องสวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในวัดสวนสันติธรรม ยกเว้นเวลารับประทานอาหาร
- ท่านที่ประสงค์จะรับประทานอาหารจากโรงอาหาร ขอให้จัดเตรียมกล่องบรรจุอาหารและช้อนของท่านไปเอง ให้รักษาระยะห่างในการตักอาหาร แยกย้ายกันรับประทาน และเมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ขอให้นำภาชนะและช้อนกลับไปล้างที่บ้านของท่าน
- พระภิกษุสามเณรที่เดินทางไปฟังธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม นิมนต์ฉันภัตตาหารได้ที่โรงอาหาร 2 ในเวลาประมาณ 8.00 น. และนั่งฟังธรรม ณ ที่นั้นต่อไป ยกเว้นพระมหาเถระที่มีอายุพรรษาตั้งแต่ 20 พรรษาขึ้นไป นิมนต์เข้าไปนั่งในศาลาใหญ่ได้ และเมื่อหลวงพ่อปราโมทย์แสดงธรรมจบแล้ว จึงนิมนต์อาคันตุกะทุกรูป เข้าพบหลวงพ่อปราโมทย์ได้
- วัดสวนสันติธรรม ยังจัดให้มีการไลฟ์สดการแสดงธรรม ทั้งภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ ส่วนการส่งการบ้านกับหลวงพ่อปราโมทย์จะใช้ระบบ Zoom เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกท่านทั่วโลกได้ส่งการบ้านอย่างเท่าเทียมกัน สำหรับท่านที่ได้เข้าฟังธรรมในศาลาใหญ่ สามารถส่งการบ้านกับผู้ช่วยสอนที่อยู่ในศาลาใหญ่ได้ หลังจบการแสดงธรรม
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป