เหตุแห่งความเนิ่นช้า

FileAction
หนังสือเหตุแห่งความเนิ่นช้า ในรูปแบบ PDFDownload 

 

การทำวิปัสสนาเหมือนการทำวิจัยภาคสนาม เราต้องเข้าไปดูของจริง ของจริงก็คือกายกับใจ ไปดูให้เห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ถ้าเอาแต่คิดๆ เอานะ ไม่ได้กินหรอก (ไม่ได้ผล) มันหย่อนเกินไป หรือเอาแต่เพ่ง เพ่งลูกเดียว ไม่ได้กินหรอก (ไม่ได้ผล) มันตึงเกินไป

 

พวกที่ภาวนายาก มีอยู่ ๒ พวก พวกหนึ่งคิดมาก หาความรู้ด้วยการคิดเอา พยายามคิดอย่างเดียวเลย อีกพวกหนึ่งติดเพ่ง ใครเขาจะเป็นอย่างไร โลกจะถล่มทลายอะไรๆ ไม่รู้เรื่อง กูเพ่งของกูอยู่คนเดียว

 

สิ่งที่พลาดในการปฏิบัติมันก็มีอยู่ ๒ อย่างนี้แหละ หย่อนเกินไปกับตึงเกินไป

หย่อนเกินไปคือละเลยที่จะคอยรู้สึกกายรู้สึกใจซึ่งแยกได้ ๒ พวก พวกหนึ่งก็หลงโลกไปเลย เพลินออกข้างนอกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อีกพวกหนึ่งคิดเพลินอยู่ในใจของตัวเอง คิดหาเหตุหาผลอะไรอย่างนี้ ฟุ้งซ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พวกนี้หย่อนเกินไป ภาวนาไม่ได้

ส่วนพวกเพ่ง บังคับกาย บังคับใจ บางคนบังคับมากหลังเคล็ด คอเคล็ด ยอกไปทั้งตัวเลย เพ่งจนเครียดไปหมดเลย เครียดจัดจนท้องไส้ไม่ทำงาน ภาวนาจนท้องผูกเลยก็มี พวกนี้ตึงเกินไป ทางสายกลาง ก็คือ อย่าให้มันหลุดเข้าไปสุดโต่ง ๒ ฝั่ง

ฝั่งตามใจกิเลส กระทั่งคิดธรรมะก็ตามใจกิเลส ตามใจความอยากรู้ พอสงสัยขึ้นมา อยากรู้อยากหาคำตอบ คิดใหญ่เลย วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ วุ่นวายอยู่ข้างใน ไม่ถึงวิปัสสนาสักที

การทำวิปัสสนาเหมือนการทำวิจัยภาคสนาม เราต้องเข้าไปดูของจริง ของจริงก็คือกายกับใจ ไปดูให้เห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ถ้าเอาแต่คิดๆ เอานะ ไม่ได้กินหรอก (ไม่ได้ผล) มันหย่อนเกินไป หรือเอาแต่เพ่ง เพ่งลูกเดียว ไม่ได้กินหรอก (ไม่ได้ผล) มันตึงเกินไป