คำถาม:
หลวงพ่อ:
เบื้องต้นก็ทำสมาธิแบบสมถะก่อน แล้วถ้าจิตมีกำลัง ทำสมาธิแบบสงบพักหนึ่งก็ก้าวขึ้นไปทำสมาธิแบบตั้งมั่นเดินปัญญา แต่ถ้าเบื้องต้น เอ เอาอันไหนดี อันไหนดี ฟุ้งซ่าน เลยไม่ได้สมาธิสักอย่างหนึ่ง ฉะนั้นเริ่มต้นตอนสตาร์ททำสมถะไปก่อน พอจิตมีกำลังแล้วเราค่อยสังเกต ตรงนี้ยังประคับประคองจิตอยู่ ดูออกไหม จิตขณะนี้ไม่เป็นจิตธรรมดา เห็นไหม เราไปทำมันขึ้นมา อย่าไปทำ เสียเวลา ไม่เกิดประโยชน์อะไรหรอก นอกจากทำให้ตัวเองลำบาก จิตที่ดีที่สุดคือจิตธรรมดาๆ แต่ว่ารู้เนื้อรู้ตัวไว้ เออ ลงมา ธรรมดาอย่างนี้ ยิ้มสิ ยิ้มหวาน สังเกตไหมตรงที่ปากเรายิ้ม ในนี้ยังมีตัวนิ่งๆ แข็งๆ อยู่ตัวหนึ่ง อันนี้คือการติดสมถะ ติดสมาธิชนิดเพ่ง
เพราะฉะนั้นเวลาเราทำสมาธิ อย่าไปนั่งเพ่งเอา ถ้าเพ่งเอาจะเกิดตัวนี้ จะไปติดนิ่งๆ อยู่ข้างใน ทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ แต่เหลือตัวหนึ่งนิ่ง อันนี้ไม่ดี เสียเวลา ไม่เดินปัญญาจริงหรอก ต้องไม่เหลือตัวที่นิ่งๆ แข็งๆ ตัวนั้น ตัวนั้นเราก็สร้างขึ้นมาเอง ด้วยความจงใจ ด้วยความอยากที่จะปฏิบัติ เพราะฉะนั้นรู้เนื้อรู้ตัวธรรมดาๆ แล้วทำกรรมฐานไป จิตสงบก็ช่าง ไม่สงบก็ช่าง ไม่บังคับ มีสติกำกับไปเรื่อยๆ
อย่างเราหายใจเข้าพุทออกโธ สงบก็ช่าง ไม่สงบก็ช่าง แต่มีสติอยู่ จิตหนีแล้วรู้ หนีแล้วรู้ จิตไปเพ่งแล้วรู้ แล้วสมาธิที่ดีจะเกิด จะไม่มีตัวค้างๆ แข็งๆ นี้ ตัวนี้ล่ะขวางการเดินปัญญา จะเห็นทุกอย่างไม่เที่ยง แต่มีตัวเราเที่ยง จิตนี้เที่ยง เออ คลายออกอย่างนี้ ค่อยๆ รู้สึกไป รู้สึกธรรมดาๆ รู้สึกไป ตอนทำในรูปแบบก็ทำไปล่ะ จะหายใจเข้าพุทออกโธหรืออะไรก็ทำ แต่ไม่ได้มุ่งไปที่ความสงบ ทำไปเพื่อฝึกสติ หายใจไปจิตหนีไปก็รู้ จิตถลำไปเพ่งก็รู้ ทำไปเพื่อฝึกสติ พอสติเราถูกต้อง สมาธิที่ถูกต้องก็จะเกิด แต่ถ้าเราไม่ได้มุ่งฝึกสติ เรามุ่งบังคับจิต จะได้มิจฉาสมาธิขึ้นมา
วัดสวนสันติธรรม 25 มิถุนายน 2566