การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย

การภาวนา ถ้าเมื่อไรภาวนาแล้วรู้สึกยาก สังวรไว้เลยว่าผิดแน่นอน การภาวนาถ้าถูกต้องจะต้องง่าย จิตใจมีสติ จิตใจมี สัมมาสมาธิ รู้ ตื่น เบิกบาน เห็นกายตามความเป็นจริง เห็นใจตาม ความเป็นจริง มีแต่ความสุขล้วนๆ เลย ค่อยๆ ภาวนา มันไม่ได้ยากเย็นเหมือนท่ีเราวาดภาพไว้ เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้ผิดธรรมดา ธรรมะคือธรรมดานั่นเอง

เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ ธรรมดาของกายก็ ไม่เท่ียง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ธรรมดาของใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน เรียนจนเห็นธรรมดา เรียนไปเรื่อย เห็นไปเรื่อย จนใจยอมรับความเป็นธรรมดาของกายของใจ ยอมรับแล้ว มันไม่เที่ยงนี่ จะไปยินดียินร้ายอะไรกับมัน มันเป็นทุกข์ มันไม่ใช่ เป็นสุข มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่บังคับได้

หลายคนภาวนาแทนที่จะมุ่งมาให้เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกือบทั้งหมดที่ภาวนาแล้วล้มลุก คลุกคลาน ภาวนาเพื่อจะให้มันเที่ยง เพื่อจะให้มันสุข เพื่อจะ บังคับมันให้ได้

ยกตัวอย่างภาวนาแล้วอยากให้จิตใจสงบถาวร ให้สุขถาวร ให้ดีถาวร ภาวนาแล้วจะเอา อยากได้ อยากได้ความสุข อยากได้ ความสงบ อยากได้ความดี สุข สงบ ดีธรรมดาก็ไม่ได้ อยากถาวร ด้วย ลืมไปว่าถาวรไม่มี มีแต่อนิจจัง ไม่ถาวร มีแต่ทุกขัง ทนอยู่ ไม่ได้ ไม่มีความสุขที่แท้จริงในกายในใจนี้

เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ
ธรรมดาของกายก็ ไม่เท่ียง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ธรรมดาของใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน
เรียนจนเห็นธรรมดา
เรียนไปเรื่อย เห็นไปเรื่อย
จนใจยอมรับความเป็นธรรมดาของกายของใจ

ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ภาวนาไปแล้วร่างกายมีความสุข ไม่ใช่ จิตใจท่านก็ยังทำหน้าที่รู้สึกนึกคิดตามธรรมดานั่นเอง ความสุขมัน อยู่ตรงที่ไม่ได้ยึดถือขันธ์ต่างหาก ไม่ยึดถือในกาย ไม่ยึดถือในใจ เป็นอิสระจากกายจากใจ ความสุขมันอยู่ตรงที่พ้นจากขันธ์ ไม่ใช่ ความสุขอยู่ที่ดัดแปลงขันธ์สำเร็จแล้ว

พวกเราภาวนาแล้วรู้สึกไหม อยากดี อยากสุข อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่าอยาก ลืมไปว่าความอยาก เกิดทีไร ความทุกข์ก็เกิดทีนั้น พอความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้น จิต ดิ้นจิตก็มีความทุกข์ขึ้นมา ถ้าจิตไม่มีความอยากจิตก็ไม่ดิ้น จิต ไม่ดิ้นจิตก็ไม่ทุกข์

แต่ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้แจ้งในกาย ในใจนี้ว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ มันยังรักกายรักใจ มันคิดว่ากายเป็นเรา ใจเป็นเรา คิดอย่างนี้ มันอยากให้เรามีความสุข อยากให้เรามี ความสงบ อยากให้เราดี อยากให้เราบรรลุมรรคผลนิพพาน พอมี ความอยากแล้วใจก็ดิ้น ใจดิ้นแล้วใจก็ทุกข์ เพราะฉะนั้นตราบใด ที่ยังละอวิชชาไม่ได้ ตัณหาคือความอยากก็จะไม่หมดไป จะหมด เป็นคราวๆ พอมีสติรู้ทันก็ดับไป พอขาดสติก็กลับมาอีก เพราะ- ฉะนั้นเลยต้องมีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา แต่พอภาวนาจนถึงที่สุด แล้ว มีปัญญา มีวิชชาเกิดแล้ว มันไม่ไปหยิบฉวยจิตขึ้นมา ไม่ต้อง รักษาจิตแล้ว ถามว่ามีสติไหม มีก็มีไปอย่างนั้นล่ะ ไม่ได้มีเพื่อ รักษาจิต เพราะจิตนั้นไม่ต้องรักษา เพราะคืนโลกคืนธรรมชาติเขา ไปแล้ว

ธรรมะเป็นสิ่งที่เรานึกไม่ถึง เราภาวนา เราก็หวังว่าวันหนึ่ง จิตของเราจะดี จะสุข จะสงบถาวร วาดภาพพระอรหันต์ไว้อย่างนั้น จริงๆ ไม่ได้เป็นอย่างที่นึกหรอก คนที่วางขันธ์ไปแล้วกับคนที่มีขันธ์ อยู่ ความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน ของเราคิดแต่ว่าทำอย่างไรจะดี ของท่านรู้ว่าวางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว ไม่จาเป็นต้องสงวนรักษาอะไร ต่อไป กิเลสเกิดขึ้นมาครอบงาจิตใจท่านอีกไม่ได้ จิตใจเข้าถึง ภาวะที่อะไรก็ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะว่ามีปัญญารู้ทุกข์ นี่แหละสาคัญ ไม่ใช่รู้อย่างอื่น

ในขณะที่พวกเราต่อสู้ตะลุมบอนไป จิตใจเกิดปัญญา เกิดสติ เกิดสมาธิ เกิดคุณงามความดีแต่ละอย่างๆ แต่ละครั้งๆ มันอิ่มอก อิ่มใจ แต่สักพักหนึ่งก็พบว่าไม่ใช่ มันเสื่อมไปอีก มีสติก็ขาดสติได้ มีสมาธิก็ขาดสมาธิได้ มีปัญญาก็โง่ได้อีก ยังเป็นของกลับกลอก ยังเป็นของแปรปรวนอยู่ จิตใจก็ถูกกิเลสย้อมได้อีก แล้วมันยัง รู้สึกลึกๆ ว่ายังขาดอะไรอย่างหนึ่งที่ยังไม่รู้แจ้ง ตราบใดที่ยังขาด อันนี้อยู่ จิตยังไม่เลิกดิ้นรนค้นคว้า จนวันหนึ่งจิตรู้แจ้งอริยสัจ พอ จิตรู้แจ้งอริยสัจแล้ว จิตคืนกายคืนจิตให้โลก มันคืนกายไปก่อน สุดท้ายมันหวงอยู่ที่จิตอันเดียว พอคืนจิตให้โลกไปแล้ว ไม่ยึดถือ อะไรในโลกอีก งานก็หมดลงตรงนั้นเอง เข้าถึงความสุขที่นึกไม่ถึง

 

ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ณ วัดสวนสันติธรรม วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐
บทที่ ๑๘ จากหนังสือศาสตร์ที่ท้าให้พิสูจน์ ไม่ใช่ชวนให้เชื่อ