มิจฉาทิฏฐิ

ของฟรีไม่มี ของฟลุกไม่มี ทุกอย่างต้อง ทำเอาเอง นี่คือกฎแห่งกรรม ไม่มีอะไรเหนือกรรม วรรคทองจะเหนือกรรมก็เป็นไปไม่ได้ ฉะน้ันเจริญ สติไว้ ถ้าพลาดจากการเจริญสติ เจริญสมาธิที่ ถูกต้อง คือพลาดจากทาง

สมถกรรมฐาน

เราจะทำสมถกรรมฐาน ถ้าเราวางจิตให้ถูก ใช้กรรมฐานอะไรก็ใช้ได้เหมือนกันหมด มันอยู่ที่จิตที่ไปทำกรรมฐานนั้นถูกไหม ถ้าเราอยากทำความสงบ เราจะใช้พุทโธ ใช้ลมหายใจใช้อะไร ก็ได้ในกรรมฐาน ๔๐ อย่าง ยกเว้นกสิณ ๑๐ อย่าง ก็เหลือ ๓๐ อย่าง กสิณเล่นแล้วมักจะออกนอก ออกไปรู้ข้างนอก

อย่างเราคิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงทาน คิดถึงศีล ที่เรารักษาดีแล้ว คิดถึงความสงบ คิดถึงคนดีๆ เป็นเทวตานุสติ เวลาเราคิดถึงคนดีๆ จิตใจมืความ สงบสุข นี่ก็เป็นสมถะ ใช้กรรมฐานอะไรก็ได้… วิธีวางใจในการทำสมถะ คือทำใจให้สบาย รู้ตัวสบายๆ อย่าเกร็งจิตขึ้นมา อย่าไปบังคับจิต อยากให้จิตสงบ แล้วบังคับจิตให้สงบ จิตจะไม่สงบเลย จิตเป็นของที่ไม่ชอบให้ใครบังคับ ต้องค่อยๆ ปลอบไป และก็อย่าไปสะกดจิตตัวเอง ไปทำให้เคลิ้ม ๆ

เหตุแห่งความเนิ่นช้า

ความสุดโต่งสองด้าน

การทำวิปัสสนาเหมือนการทำวิจัยภาคสนาม เราต้องเข้าไปดูของจริง ของจริงก็คือกายกับใจ ไปดูให้เห็นความจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ถ้าเอาแต่คิดๆ เอานะ ไม่ได้กินหรอก (ไม่ได้ผล) มันหย่อนเกินไป หรือเอาแต่เพ่ง เพ่งลูกเดียว ไม่ได้กินหรอก (ไม่ได้ผล) มันตึงเกินไป

สัมมาสมาธิ

นักปฏิบัติจำนวนมากขาดสมาธิที่ดี คือ สมาธิที่จิตใจตั้งมั่น อยู่กับตัวเอง ไม่หลงไป ไม่ไหลไป สมาธิที่นักปฏิบัติส่วนใหญ่ฝึกกันเป็นมิจฉาสมาธิโดยไม่รู้ตัว แท้จริงแล้วสมาธิที่ถูกต้องซึ่งเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ได้แปลว่าสงบ สมาธิของพระพุทธเจ้าแปลว่า ความตั้งมั่น จิตมันตั้งมั่นอยู่ ไม่ไหลไปโดยที่ไม่ได้บังคับไว้ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่นักปฏิบัติจำเป็นจะต้องรู้จักสมาธิที่ดี สมาธิที่จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะถ้าหากไม่มีสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น ก็จะเจริญปัญญาหรือทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้

สุดยอดกรรมฐาน

จิตที่เป็นผู้รู้ไม่ใช่ของประหลาด ในอภิธรรมบอกไว้ชัดเจนเลยว่าอะไรคือลักษณะของจิต ลักษณะเฉพาะของจิตก็คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ จิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แต่จิตชอบทำเกินธรรมชาติ เกินหน้าที่ แทนที่รู้อารมณ์แล้วจะรู้เฉยๆ รู้แล้วก็ยินดีบ้าง รู้แล้วก็ยินร้ายบ้าง นี่เกินขึ้นมา ฉะนั้นถ้าเมื่อไหร่มันยินดียินร้ายขึ้นมา ก็รู้ทันเข้าไปอย่างนี้ทำงานเกินหน้าที่ เกินรู้แล้ว มันก็จะทำงานแค่รู้ พอทำงานแค่รู้มันจะเห็นขันธ์ทั้งหลายทำงานได้ กระทั่งตัวจิตที่ทำงานได้นี้ไม่ใช่ตัวเรา แล้วต่อไปมันจะเห็นว่ามันคือตัวทุกข์ ตรงที่เห็นแตกหักลงไปว่าตัวจิตคือตัวทุกข์ ผู้รู้คือตัวทุกข์นี่แหละ วัฏฏะ สังสารวัฏจะถล่มลงต่อหน้าต่อตาเราเลย ถล่มลงกลางอกเรานี่เอง แตกหักกันลงตรงนี้เอง