วิมุตติมรรค

วิมุตติมรรค หรือเส้นทางแห่งความหลุดพ้น ซึ่งเรียบง่ายรื่นรมย์ และเป็นทางนำให้ประจักษ์ถึงนิพพานซึ่งอยู่ต่อหน้าต่อตานี้เอง เส้นทางสายนี้มีผู้พยายามแสวงหากันมากมายแต่ไม่พบ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ และพวกเราจะพบเส้นทางสายนี้ตามพระพุทธเจ้าได้โดยง่าย หากได้ศึกษาบทเรียน ๓ บทที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ซึ่งเมื่อดำเนินตามเพียงไม่นาน เราจะรู้สึกได้ว่านิพพานอยู่ไม่ไกลเกินหวัง

ประทีปส่องธรรม

หนังสือประทีปส่องธรรม ปัจจุบันนี้ไม่มีการพิมพ์ต่อแล้ว ญาติธรรมที่สนใจขอรับหนังสือธรรมะ หรือตำราที่เขียนโดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช หรือหนังสือที่ถอดเสียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ กรุณาติดต่อมูลนิธิสื่อธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช โดยตรง

“บทความแทบทุกเรื่องมุ่งเน้นไปที่จุดเดียวกัน คือการเจริญสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนานั้น ต้องทำด้วยการมีความรู้สึกตัว แล้วตามรู้กายและ/หรือตามรู้ใจอยู่เนืองๆ โดยต้องรู้ให้ถูกตรงตามวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหลัก “กิจในอริยสัจจ์” ด้วย ฉะนั้นท่านผู้อ่านสามารถเลือกอ่านบทความเพียงบางเรื่องที่เห็นว่าเข้าใจง่ายสำหรับตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด เพราะอาจจะมีแง่มุมหลากหลายเกินความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติของบุคคลคนหนึ่ง”

แก่นธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (ฉบับเพิ่มเติม)

คำสอนเรื่องการดูจิตของหลวงปู่มีสูงมีต่ำ มีลำดับหน้าหลัง ดังนั้นหากใครสรุปว่าหลวงปู่สอนดูจิตเท่าที่สอนตน โดยไม่พิจารณาถึงคำสอนที่ท่านสอนศิษย์อื่น ก็จัดเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงทีเดียว และถ้าศึกษาการดูจิตที่หลวงปู่มั่นสอนให้แก่หลวงปู่ดูลย์แล้ว จะพบว่าการดูจิตในขั้นที่จะทำให้เกิดความรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจนั้น ตรงกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง

ผู้เขียนไม่ใช่ปรมาจารย์ของการดูจิต เพียงแต่มีโอกาสได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์ชั้นเลิศหลายท่าน รวมทั้งได้ศึกษาปริยัติธรรมบ้างจึงพอจะเข้าใจได้ว่าหลวงปู่สอนอะไร และมีลำดับขั้นตอนอย่างใด ที่เขียนเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ก็เพื่อรักษาคำสอนอันประเสริฐของครูบาอาจารย์เอาไว้ ไม่เช่นนั้นในระยะยาว รุ่นหลานศิษย์เหลนศิษย์ของหลวงปู่ก็จะเกิดความสับสน เพราะมองไม่เห็นภาพรวมของการดูจิต อาจจะคิดว่าการดูจิตมีแต่การรักษาหรือประคองจิตให้นิ่งว่างอยู่ภายในนิรันดร ทำให้ไม่มีโอกาสเข้าถึงมรรคผลนิพพาน เพราะการรักษาจิตให้นิ่งว่างเป็นแค่การทำสมถกรรมฐานเป็นทางไปพรหมโลกเท่านั้น หรือถ้าคิดว่าหลวงปู่สอนว่าจิตดีอยู่แล้วด้วยตัวจิตเอง ศีล สมาธิ และปัญญาไม่สำคัญ จึงไม่ต้องปฏิบัติอะไรเลย ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยไม่รู้ตัว หรือถ้าคิดว่าหลวงปู่สอนว่าจิตเที่ยง ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกเช่นกัน

ทางเอก

คุยกันก่อน เมื่อปี ๒๕๔๗ เพื่อนนักปฏิบัติได้ร่วมกันพิมพ์ …

Read more

วิถีแห่งความรู้แจ้ง

การจะปฏิบัติจนจิตเข้าใจถึงสภาพธรรมที่เหนือความปรุงแต่ง จะกระทําได้ด้วยการลืมตาตื่นออกจากโลกของความคิดฝันปรุงแต่ง แล้วหันหน้ามาเผชิญกับปรมัตถธรรมท่ีกําลังปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลาง พ้นจากความหลงยินดียินร้ายแม้แต่กับกิเลสบาป ธรรม ไม่เพ่งจ้อง และไม่เผลอเติมความคิดปรุงแต่งลงในการรับรู้ นี้คือวิถีที่จะรีดกระแสความคิดปรุงแต่งให้เรียวเล็กจนขาดลง เมื่อกระแสของความปรุงแต่งขาดลง สภาพธรรมที่พ้นจากความปรุงแต่งก็จะปรากฏออกมาเอง

การทําความรู้ตัว เป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย เพราะเราคุ้นเคยแต่กับความไม่รู้ตัวแล้ว หลงอยู่ในโลกของความคิดฝ้น จึงจําเป็นที่เราจะต้องศึกษา ทําความเข้าใจ แล้วลงมือ ปฏิบัติอย่างจริงใจ

หนังสือเล่มนี้ ได้นําเสนอข้อเขียนบางส่วนของอุบาสกนักปฏิบัติผู้หนึ่งคือ นาย ปราโมทย์ สันตยากร / “สันตินันท์” / “อุบาสกนิรนาม” ทั้ง 4 เรื่อง มีสาระเดียวกันคือ นําเสนอแนวทางการเจริญสติ เพียงแต่มีความยากง่ายในการอธิบายแตกต่างกัน

แด่เธอผู้มาใหม่: เรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่าธรรมะ

เป็นการยากที่เราจะเห็นได้ว่า ธรรมะเป็นเรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่สุด เพราะภาพลักษณ์ของศาสนา หรือของธรรมะ ที่เรารู้จักนั้น ดูอย่างไรก็ไม่ธรรมดาเลย เริ่มตั้งแต่ภาษาที่ใช้ เต็มไปด้วยภาษาบาลี มีศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะมากมาย แค่ทำความเข้าใจศัพท์ก็ยากนักหนาแล้ว

พอรู้ศัพท์แล้วลงมือศึกษาตำราจริงๆ ก็พบความยากอีก คือธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มีมากเหลือเกิน และตำราที่พระรุ่นหลังลงมาท่านเขียนไว้ ก็มีอีกมากมาย

บางท่านพอใจที่จะลงมือปฏิบัติ ก็มีปัญหาอีกว่า สำนักปฏิบัติมีมากมาย ทุกสำนักบอกว่าแนวทางของตนถูกตรงที่สุดตามหลักมหาสติปัฏฐาน บางทีก็ทับถมสำนักอื่นหน่อยๆ ว่า สอนไม่ตรงทาง

ความยากลำบากนี้ พบกันทุกคนครับ ทำให้ผมต้องนั่งถามตนเองว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะศึกษาธรรมได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องรู้ศัพท์บาลี หรือไม่ต้องอ่านหนังสือ หรือเข้าสำนักปฏิบัติใดๆ เลย