การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ก่อนที่เราจะปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ต้องซ้อมไว้ก่อน การซ้อมก็คือการปฏิบัติในรูปแบบ แล้วต้องมีวินัยในตัวเอง ถ้าเราไม่มีวินัยในตัวเอง เราก็จะอ้าง มีข้ออ้างมากมายที่จะไม่ปฏิบัติ ทีเรื่องอื่นขาดไม่ได้ แต่เรื่องปฏิบัตินี้ขาดได้ เว้นได้ ใจมันไม่เด็ดพอ ใจแบบนี้โอกาสได้มรรคผล ยาก ต้องใจเด็ดจริงๆ ใจเข้มแข็งจริงๆ ฉะนั้นถ้าเราอยากได้ดิบได้ดี ในทางธรรมะในชีวิตนี้ เราไม่พูดถึงว่าจะสะสมบารมีอีกหลายภพหลายชาติแล้วจะได้ธรรมะ เสียเวลา ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะที่ไม่เนิ่นช้าไม่มีข้ออ้าง จะต้องทำอีกนานๆ ถึงจะได้

หลวงปู่ดูลย์สอนหลวงพ่อให้ดูจิต

สิ่งที่หลวงปู่ดูลย์สอน เป็นทางที่ลัดสั้นที่สุดแล้ว ถ้าเราสามารถตัดตรงเข้ามาที่จิตเรา การปฏิบัติจะเหลือนิดเดียวเลย แต่ถ้าเรายังเข้ามาที่จิตไม่ได้ เราก็อ้อมๆ ไปก่อน ไปดูกาย ดูเวทนา ดูสังขารอะไรไป แต่ถ้าตัดตรงเข้ามาเห็นจิตได้ เห็นจิตสุขเกิดแล้วดับ จิตทุกข์เกิดแล้วดับ จิตดีเกิดแล้วดับ จิตโลภ โกรธ หลงเกิดแล้วดับ อย่างนี้ดูจิตไปเลย วันไหนดูไม่ไหว จิตไม่มีกำลัง ไปดูกาย หายใจเข้าพุท หายใจออกโธอะไรก็ทำไป จิตมันมีกำลังขึ้นมา มันก็จะเข้ามาดูจิตได้เอง นี่เส้นทางที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนหลวงพ่อมา แล้วหลวงพ่อก็เอามาทำ ใช้เวลาไม่มาก

ระหว่างวันพยายามรู้สึกตัว ถ้าวันไหนยุ่งอยู่กับงานมาก จะรู้สึกตัวได้น้อย ตอนกลางคืนปฏิบัติในรูปแบบ จิตมักตกภวังค์

คำถาม: ภาวนาโดยใช้ “เมตตา คุณณัง อะระหัง เมตตา” เป็นวิห …

Read more

คำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ที่จริงคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ ส่วนหนึ่งก็จะเหมือนๆ กับคำสอนของครูบาอาจารย์ทั่วๆ ไป แต่ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท่าน โดดเด่น ไม่มีองค์ไหนเหมือนก็คือเรื่องของจิต ท่านสอนตัดตรงเข้ามาที่จิตเลย แต่ก็ไม่ได้สอนทุกคนให้เข้ามาที่จิต ไม่ใช่ทุกคนจะเข้ามาได้หรอก จิตมันต้องมีกำลังมากพอ ถึงจะเข้ามาดูจิตได้ ถ้ากำลังยังไม่พอ ท่านก็ให้เริ่มไป บางคนก็พุทโธ บางคนก็พิจารณากาย พอจิตมีกำลังแล้วถึงจะขึ้นมาที่จิตได้

ท่านสอน “จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ผลที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ ธรรมดาของจิตย่อมส่งออกนอก เมื่อส่งออกนอกแล้วกระเพื่อมหวั่นไหว ก็เป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอก แล้วกระเพื่อมหวั่นไหวไม่มีสติอยู่ก็เป็นทุกข์ จิตส่งออกนอกแล้วมีสติอยู่ ก็เป็นการเจริญมรรค ผลก็คือนิโรธ” แล้ววรรคสุดท้ายที่หลวงปู่สอนก็คือ “อนึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีจิตไม่ส่งออกนอก มีจิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว มีสติสมบูรณ์เป็นวิหารธรรมอยู่” พอได้อ่านธรรมะตรงนี้ มันสะเทือนเข้าถึงใจ มันเห็นว่าถ้าจิตมันไม่ทุกข์แล้วใครมันจะทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้าเราแก้ปัญหาที่จิตของเราได้ ความทุกข์มันก็ตั้งอยู่ไม่ได้

รู้ตัวเร็วบ้างช้าบ้าง แล้วจึงเริ่มต้นกับการดูกายหายใจใหม่ รู้สึกว่าบางวันภาวนาได้ดี บางวันภาวนาไม่ค่อยดี

คำถาม:

ทุกวันปฎิบัติในรูปแบบโดยการนั่งสมาธิ ดูกายหายใจผสมกับภาวนาพุทโธ วันละ 20 – 30 นาที และปฎิบัตินอกรูปแบบ โดยการดูกายเคลื่อนไหว ดูกายหายใจ จิตคิด จิตไหล หรือจิตมีกิเลสก็คอยรู้ตัว รู้แล้วเห็นสภาวะนั้นดับไป โดยรู้ตัวเร็วบ้างช้าบ้าง แล้วจึงเริ่มต้นกับการดูกายหายใจใหม่ รู้สึกว่าบางวันภาวนาได้ดี บางวันภาวนาไม่ค่อยดี ขอคำชี้แนะเพื่อภาวนาต่อไปครับ

 

หลวงพ่อ:

ภาวนามันก็เจริญบ้างเสื่อมบ้าง เป็นธรรมชาติ มันถูกแล้ว เพียงแต่ว่าเราต้องมีเครื่องอยู่ แล้วก็อยู่กับเครื่องอยู่ของเราไป อย่างเมื่อกี้หลวงพ่อเทศน์เรื่องปัญญานำสมาธิ ปัญญานำสมาธิไม่ใช่แปลว่าไม่มีสมาธิ ก็ต้องมีสมาธิคือขณิกสมาธิ เพราะฉะนั้นเราต้องฝึก อย่างเราหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ จิตหนีแล้วรู้อะไรอย่างนี้ เราจะได้ขณิกสมาธิ ต้องฝึก ทุกวันทำทุกวัน สมาธิของเราก็จะค่อยๆ เข้มแข็งมากขึ้นๆ พอสมาธิมันเข้มแข็งแล้ว แล้วเราคอยรู้ทันเวลาจิตมันเคลื่อน จิตมันจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา แล้วมันจะเห็นความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว เป็นของแปลกปลอม พอร่างกายเคลื่อนไหวมันก็จะเห็นเลย ร่างกายก็ไม่ใช่จิต เป็นของถูกรู้ถูกดู

ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่ถูกรู้ถูกดู ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราจะเดินปัญญาได้ก็ต้องอาศัยสมาธิ แต่ว่าเป็นแค่ขณิกสมาธิ ฉะนั้นปัญญานำสมาธิไม่ได้แปลว่าไม่มีสมาธิ แต่ต้องมีสมาธิ คือขณิกสมาธิต้องมีก่อน ฉะนั้นถ้าเข้าใจตัวนี้เราก็พยายามฝึกจิตของเราให้มีสมาธิ มีขณิกสมาธินี่ล่ะ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ จิตไปทำอะไรรู้ทัน แล้วก็พอรู้ทันแล้วมันก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นมา มันก็มาหายใจเข้าพุท – ออกโธอีก หนีไปอีกรู้อีก มันหนีได้ 2 ลักษณะ หนีไปคิดกับหนีไปเพ่ง มันหนีอย่างไรเราคอยรู้เอาก็แล้วกัน ฝึกจนชำนิชำนาญ ต่อไปจิตขยับนิดเดียวเห็นเลย จิตมันจะตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ได้ทั้งวัน ในที่สุดจิตเราก็จะเป็นผู้รู้จริงๆ ในทุกๆ ปรากฏการณ์ อยู่ในชีวิตประจำวันจิตก็ยังเป็นผู้รู้ เห็นโลกธาตุนี้ว่างเปล่า ไม่มีตัวมีตนอะไรหรอก

เราภาวนาไปเรื่อยๆ ต่อไปก็เห็นตัวจิตเองก็ว่างเปล่า ไม่มีตัวมีตนหรอก ถ้าเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เห็นโลก เห็นขันธ์ว่างเปล่า เห็นจิตที่ไปรู้ขันธ์ว่างเปล่า ตรงนั้นเราก็จะได้ธรรมะแล้ว นี้ก็อาศัยฝึกสมาธิทีละขณะๆ นี่ล่ะ ต้องทำ มีเครื่องอยู่ ถ้าไม่ทำจิตเดินปัญญาไม่ได้จริง มันจะฟุ้ง.

 

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม 31 กรกฎาคม 2564