จิตตสิกขาและอริยสัจ: ความจริงที่ต้องเรียน กิจที่ต้องทำ

อริยสัจ คือความจริง ๔ อย่างที่ต้องเรียน คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และมีกิจ ๔ อย่างที่ต้องทำ
กิจต่อทุกข์ คือการรู้
กิจต่อสมุทัย คือการละ
กิจต่อนิโรธ คือทำให้แจ้ง
กิจต่อมรรค คือการทำให้เจริญ

ฉะนั้น หน้าที่เจริญสติ เจริญมรรคนี่แหละ ทำให้มากๆ ต่อไปสติปัญญามันจะพัฒนา เบื้องต้นมันก็จะเห็นว่าตัวเราไม่มี กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เรา มีแต่ขันธ์ ไม่มีเจ้าของ เห็นอย่างนี้ได้เป็นพระโสดาบัน ภูมิธรรมภูมิปัญญาของพระโสดาบันกับพระสกทาคามีเป็นภูมิปัญญาระดับนี้

อานาปานสติ เพื่อเจริญปัญญา

อานาปานสติเป็นสุดยอดกรรมฐาน จนถึงขนาดที่อาจารย์อภิธรรมบางท่านยกให้เลยว่า อานาปานสติเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ และมหาบุรุษระดับพระพุทธเจ้า

อานาปานสติมี ๒ แบบ คือ มีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก และ มีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก

นาทีทองในสังสารวัฏ เล่ม ๑-๔

หนังสือชุดนาทีทองในสังสารวัฏ นี้ได้รวบรวมธรรมเทศนาซึ่งหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช ได้แสดงธรรม ณ ศาลากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (ศาลาลุงชิน) โดยนำมาถอดเสียงและเรียบเรียงถ้อยคำ เพื่อให้เหมาะสมกับการอ่านยิ่งขึ้น แต่ยังคงรักษาเนื้อหาในธรรมเทศนาเอาไว้ทุกประการ โดยสอนเน้นถึงเรื่องการเจริญสติ การเรียนรู้และดูสภาวธรรม และการเจริญวิปัสสนา ซึ่งเป็นธรรมเทศนาที่สามารถทำความเข้าใจตามได้ง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติแล้วเห็นผลได้จริงด้วยตนเองโดยไม่เนิ่นช้า โดยได้มีพยานในการปฏิบัติจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนที่ศึกษาธรรมเทศนาที่สอนโดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโชและนำไปปฏิบัติในชีวิตแล้ว พบว่าในเวลาไม่นาน ชีวิตตนเองเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมาก เข้าใจในพระธรรมคำสอนและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เคารพรักในพระพุทธเจ้ามากขึ้น ถือศีลได้เข้าแข็งมากขึ้น และสนใจตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรมมาขึ้น

ทางเอก

คุยกันก่อน เมื่อปี ๒๕๔๗ เพื่อนนักปฏิบัติได้ร่วมกันพิมพ์ …

Read more

วิถีแห่งความรู้แจ้ง

การจะปฏิบัติจนจิตเข้าใจถึงสภาพธรรมที่เหนือความปรุงแต่ง จะกระทําได้ด้วยการลืมตาตื่นออกจากโลกของความคิดฝันปรุงแต่ง แล้วหันหน้ามาเผชิญกับปรมัตถธรรมท่ีกําลังปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลาง พ้นจากความหลงยินดียินร้ายแม้แต่กับกิเลสบาป ธรรม ไม่เพ่งจ้อง และไม่เผลอเติมความคิดปรุงแต่งลงในการรับรู้ นี้คือวิถีที่จะรีดกระแสความคิดปรุงแต่งให้เรียวเล็กจนขาดลง เมื่อกระแสของความปรุงแต่งขาดลง สภาพธรรมที่พ้นจากความปรุงแต่งก็จะปรากฏออกมาเอง

การทําความรู้ตัว เป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย เพราะเราคุ้นเคยแต่กับความไม่รู้ตัวแล้ว หลงอยู่ในโลกของความคิดฝ้น จึงจําเป็นที่เราจะต้องศึกษา ทําความเข้าใจ แล้วลงมือ ปฏิบัติอย่างจริงใจ

หนังสือเล่มนี้ ได้นําเสนอข้อเขียนบางส่วนของอุบาสกนักปฏิบัติผู้หนึ่งคือ นาย ปราโมทย์ สันตยากร / “สันตินันท์” / “อุบาสกนิรนาม” ทั้ง 4 เรื่อง มีสาระเดียวกันคือ นําเสนอแนวทางการเจริญสติ เพียงแต่มีความยากง่ายในการอธิบายแตกต่างกัน

แด่เธอผู้มาใหม่: เรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่เรียกว่าธรรมะ

เป็นการยากที่เราจะเห็นได้ว่า ธรรมะเป็นเรื่องเรียบง่ายและธรรมดาที่สุด เพราะภาพลักษณ์ของศาสนา หรือของธรรมะ ที่เรารู้จักนั้น ดูอย่างไรก็ไม่ธรรมดาเลย เริ่มตั้งแต่ภาษาที่ใช้ เต็มไปด้วยภาษาบาลี มีศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะมากมาย แค่ทำความเข้าใจศัพท์ก็ยากนักหนาแล้ว

พอรู้ศัพท์แล้วลงมือศึกษาตำราจริงๆ ก็พบความยากอีก คือธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มีมากเหลือเกิน และตำราที่พระรุ่นหลังลงมาท่านเขียนไว้ ก็มีอีกมากมาย

บางท่านพอใจที่จะลงมือปฏิบัติ ก็มีปัญหาอีกว่า สำนักปฏิบัติมีมากมาย ทุกสำนักบอกว่าแนวทางของตนถูกตรงที่สุดตามหลักมหาสติปัฏฐาน บางทีก็ทับถมสำนักอื่นหน่อยๆ ว่า สอนไม่ตรงทาง

ความยากลำบากนี้ พบกันทุกคนครับ ทำให้ผมต้องนั่งถามตนเองว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะศึกษาธรรมได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องรู้ศัพท์บาลี หรือไม่ต้องอ่านหนังสือ หรือเข้าสำนักปฏิบัติใดๆ เลย

Page 64 of 64
1 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64