ประทีปส่องธรรม

หนังสือประทีปส่องธรรม ปัจจุบันนี้ไม่มีการพิมพ์ต่อแล้ว ญาติธรรมที่สนใจขอรับหนังสือธรรมะ หรือตำราที่เขียนโดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช หรือหนังสือที่ถอดเสียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ กรุณาติดต่อมูลนิธิสื่อธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช โดยตรง

“บทความแทบทุกเรื่องมุ่งเน้นไปที่จุดเดียวกัน คือการเจริญสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนานั้น ต้องทำด้วยการมีความรู้สึกตัว แล้วตามรู้กายและ/หรือตามรู้ใจอยู่เนืองๆ โดยต้องรู้ให้ถูกตรงตามวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในหลัก “กิจในอริยสัจจ์” ด้วย ฉะนั้นท่านผู้อ่านสามารถเลือกอ่านบทความเพียงบางเรื่องที่เห็นว่าเข้าใจง่ายสำหรับตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด เพราะอาจจะมีแง่มุมหลากหลายเกินความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติของบุคคลคนหนึ่ง”

เรียนธรรมคู่เพื่อรู้ธรรมหนึ่ง

ถ้าพิจารณาให้ดี อารมณ์ทั้งหลายในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นมาให้เราเรียนรู้นั้น เป็นอารมณ์ที่เป็นคู่ทั้งสิ้น เช่น “หายใจออกกับหายใจเข้า” เห็นไหมว่าเป็นคู่ ๆ “ยืน เดิน นั่ง นอน” นี่ก็เป็นคู่ คำว่า “คู่” ไม่ได้แปลว่าสองนะ แต่หมายถึงสิ่งซึ่งมีสิ่งอื่นเทียบเคียงได้ ไม่ใช่มีอันเดียว ยืน เดิน นั่ง นอน นี่มีสี่อย่าง เทียบได้ว่าแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ก็ถือว่าเป็นธรรมคู่ หรือเวทนา มี “สุข ทุกข์ เฉย ๆ” มีสามอย่างก็ถือว่าเป็นธรรมคู่ หรือ “จิตมีราคะ จิตไม่มีราคะ” นี่หนึ่งคู่ “จิตมีโทสะ จิตไม่มีโทสะ” นี่หนึ่งคู่ “จิตมีโมหะ จิตไม่มีโมหะ” นี่อีกคู่หนึ่ง “จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่” นี่อีกคู่หนึ่ง

ทำไมต้องเรียนธรรมคู่ หรือเรียนสภาวะเป็นคู่ ๆ เราเรียนสิ่งซึ่งเป็นคู่ เพื่อจะได้เห็นว่าแต่ละสิ่ง ๆ นั้นไม่เที่ยง แต่ละสิ่ง ๆ ทนอยู่ไม่ได้นาน แต่ละสิ่ง ๆ บังคับไม่ได้ มันพลิกกลับไปกลับมาระหว่างด้านตรงข้ามเสมอ ๆ เรียนเพื่อให้เห็นตรงนี้

แก่นธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (ฉบับเพิ่มเติม)

คำสอนเรื่องการดูจิตของหลวงปู่มีสูงมีต่ำ มีลำดับหน้าหลัง ดังนั้นหากใครสรุปว่าหลวงปู่สอนดูจิตเท่าที่สอนตน โดยไม่พิจารณาถึงคำสอนที่ท่านสอนศิษย์อื่น ก็จัดเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงทีเดียว และถ้าศึกษาการดูจิตที่หลวงปู่มั่นสอนให้แก่หลวงปู่ดูลย์แล้ว จะพบว่าการดูจิตในขั้นที่จะทำให้เกิดความรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจนั้น ตรงกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง

ผู้เขียนไม่ใช่ปรมาจารย์ของการดูจิต เพียงแต่มีโอกาสได้ศึกษาจากครูบาอาจารย์ชั้นเลิศหลายท่าน รวมทั้งได้ศึกษาปริยัติธรรมบ้างจึงพอจะเข้าใจได้ว่าหลวงปู่สอนอะไร และมีลำดับขั้นตอนอย่างใด ที่เขียนเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ก็เพื่อรักษาคำสอนอันประเสริฐของครูบาอาจารย์เอาไว้ ไม่เช่นนั้นในระยะยาว รุ่นหลานศิษย์เหลนศิษย์ของหลวงปู่ก็จะเกิดความสับสน เพราะมองไม่เห็นภาพรวมของการดูจิต อาจจะคิดว่าการดูจิตมีแต่การรักษาหรือประคองจิตให้นิ่งว่างอยู่ภายในนิรันดร ทำให้ไม่มีโอกาสเข้าถึงมรรคผลนิพพาน เพราะการรักษาจิตให้นิ่งว่างเป็นแค่การทำสมถกรรมฐานเป็นทางไปพรหมโลกเท่านั้น หรือถ้าคิดว่าหลวงปู่สอนว่าจิตดีอยู่แล้วด้วยตัวจิตเอง ศีล สมาธิ และปัญญาไม่สำคัญ จึงไม่ต้องปฏิบัติอะไรเลย ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยไม่รู้ตัว หรือถ้าคิดว่าหลวงปู่สอนว่าจิตเที่ยง ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกเช่นกัน

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

เวลาที่มรรคผลจะเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม
ฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ
ท่านบอก กุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้
ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ
ฉะนั้น ถ้าศีล สมาธิ ปัญญาไม่พร้อม
อริยมรรคก็ไม่เกิด
ต้องทำเหตุกับผลให้ตรงกัน
อยากได้ผลอย่างนี้ ก็ต้องทำเหตุอย่างนี้

จิตตสิกขาและอริยสัจ: ความจริงที่ต้องเรียน กิจที่ต้องทำ

อริยสัจ คือความจริง ๔ อย่างที่ต้องเรียน คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และมีกิจ ๔ อย่างที่ต้องทำ
กิจต่อทุกข์ คือการรู้
กิจต่อสมุทัย คือการละ
กิจต่อนิโรธ คือทำให้แจ้ง
กิจต่อมรรค คือการทำให้เจริญ

ฉะนั้น หน้าที่เจริญสติ เจริญมรรคนี่แหละ ทำให้มากๆ ต่อไปสติปัญญามันจะพัฒนา เบื้องต้นมันก็จะเห็นว่าตัวเราไม่มี กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เรา มีแต่ขันธ์ ไม่มีเจ้าของ เห็นอย่างนี้ได้เป็นพระโสดาบัน ภูมิธรรมภูมิปัญญาของพระโสดาบันกับพระสกทาคามีเป็นภูมิปัญญาระดับนี้

อานาปานสติ เพื่อเจริญปัญญา

อานาปานสติเป็นสุดยอดกรรมฐาน จนถึงขนาดที่อาจารย์อภิธรรมบางท่านยกให้เลยว่า อานาปานสติเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ และมหาบุรุษระดับพระพุทธเจ้า

อานาปานสติมี ๒ แบบ คือ มีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก และ มีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก

นาทีทองในสังสารวัฏ เล่ม ๑-๔

หนังสือชุดนาทีทองในสังสารวัฏ นี้ได้รวบรวมธรรมเทศนาซึ่งหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช ได้แสดงธรรม ณ ศาลากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (ศาลาลุงชิน) โดยนำมาถอดเสียงและเรียบเรียงถ้อยคำ เพื่อให้เหมาะสมกับการอ่านยิ่งขึ้น แต่ยังคงรักษาเนื้อหาในธรรมเทศนาเอาไว้ทุกประการ โดยสอนเน้นถึงเรื่องการเจริญสติ การเรียนรู้และดูสภาวธรรม และการเจริญวิปัสสนา ซึ่งเป็นธรรมเทศนาที่สามารถทำความเข้าใจตามได้ง่าย และสามารถนำไปปฏิบัติแล้วเห็นผลได้จริงด้วยตนเองโดยไม่เนิ่นช้า โดยได้มีพยานในการปฏิบัติจำนวนมากมายนับไม่ถ้วนที่ศึกษาธรรมเทศนาที่สอนโดยหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโชและนำไปปฏิบัติในชีวิตแล้ว พบว่าในเวลาไม่นาน ชีวิตตนเองเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นมาก เข้าใจในพระธรรมคำสอนและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เคารพรักในพระพุทธเจ้ามากขึ้น ถือศีลได้เข้าแข็งมากขึ้น และสนใจตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรมมาขึ้น

Page 58 of 59
1 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59