ปัจจุบันขณะ – ปัจจุบันสันตติ

คำว่า ปัจจุบัน มี 2 อัน ปัจจุบันขณะ อย่างเราดูร่างกายนี่ต้องเป็นปัจจุบันขณะ แต่การดูนามธรรมนั้น เราจะดูในลักษณะที่เรียกว่า ปัจจุบันสันตติ เป็นปัจจุบันเหมือนกัน แต่เป็นปัจจุบันอีกแบบหนึ่ง คือมันสืบเนื่องอยู่กับปัจจุบัน

การปฏิบัติ 3 แนวทาง

ดูจริตนิสัยเรา ถ้าเราเป็นพวกโลภมาก อยากมาก พวกตัณหาจริต สติปัฏฐานที่เหมาะกับพวกตัณหาจริตก็คือดูกายหรือเวทนา ถ้าพวกเจ้าความคิดเจ้าความเห็น เรียกว่า พวกทิฏฐิจริต สิ่งที่เหมาะสมก็คือจิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา

กรรมฐานถูกจริตเหมือนยาถูกโรค

ดูจริตนิสัยเรา ถ้าเราเป็นพวกโลภมาก อยากมาก พวกตัณหาจริต สติปัฏฐานที่เหมาะกับพวกตัณหาจริตก็คือดูกายหรือเวทนา ถ้าพวกเจ้าความคิดเจ้าความเห็น เรียกว่า พวกทิฏฐิจริต สิ่งที่เหมาะสมก็คือจิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา

เลือกชัยภูมิให้เหมาะ

สนามรบของนักปฏิบัติมีอยู่ 4 แห่ง คือกาย เวทนา จิต ธรรม วิหารธรรม 4 อย่างนี้มีความหยาบความละเอียดที่แตกต่างกัน เวลาเราจะทำสงครามเราต้องรู้จักเลือกชัยภูมิ ว่าชัยภูมิอันไหนที่เราได้เปรียบ ไม่ใช่นึกจะรบตรงไหนก็ไปรบ อันนั้นโง่

ขึ้นภูเขาได้หลายทาง

บางคนก็เริ่มต้นดูกาย บางคนก็เริ่มต้นดูเวทนา บางคนก็เริ่มต้นดูจิต ทางใครทางมัน แต่ในสุดท้ายไม่ว่าจะดูกาย เวทนา หรือจิต หรือธรรม สุดท้ายมันก็ลงไปที่เดียวกัน เข้าไปสู่วิมุตติอันเดียวกัน เข้าไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นอันเดียวกัน เข้าไปสู่พระนิพพานก็อันเดียวกันนั่นล่ะ มันเป็นสภาวะที่เหมือนกัน

ดูตัวเองดีกว่าคอยจับผิดคนอื่น

วันๆ หนึ่งเรามองคนอื่นมากกว่ามองตัวเอง ฉะนั้นก็เห็นแต่คนอื่น มันไม่เห็นตัวเอง เห็นคนอื่นแล้วใจของเรามันมีกิเลส มันก็เห็นคนอื่นในมุมที่ตัวเองอยากเห็น ชอบขึ้นมาก็มองว่าเขาดี ไม่ชอบขึ้นมาก็เขาเลว มองอย่างที่ตัวเองอยากมอง ลองย้อนกลับมาทำตัวเองให้มันดีเสียก่อน ย้อนกลับมาฝึกตัวเองให้มันดีเสียก่อน ค่อยวิจารณ์คนอื่นก็ได้ ไม่สายไปหรอก ย้อนมาดูตัวเอง

สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

การภาวนามันมี 2 ส่วน ส่วนของสมถกรรมฐานกับส่วนของวิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐาน เราเลือกอารมณ์ที่เราอยู่ด้วยแล้วมีความสุข มีความสงบ สบายใจอยู่กับอารมณ์อันไหน เราก็อยู่กับอารมณ์อันนั้น พอมันอยู่กับอารมณ์ที่ชอบใจ มันก็ไม่วิ่งไปหาอารมณ์อื่นๆ การทำวิปัสสนากรรมฐาน ทีแรกหัดรู้ตัวสภาวะไป พอเห็นสภาวะทั้งหลายมันแยกออกไปจากจิตที่เป็นคนรู้เรียกว่า เราเริ่มแยกขันธ์ เห็นทุกๆ ตัวนั้นถูกรู้ถูกดู ทุกๆ ตัวนั้นตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์

ความสุขมีหลายระดับ

มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง” คำว่าตามความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ เพราะความจริงของรูปนามคือไตรลักษณ์ ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ก็เรียกว่ายังไม่ได้ทำวิปัสสนา ฉะนั้นประโยคสั้นๆ นี้ล่ะที่หลวงพ่อรวมมาจาก หลักการปฏิบัติที่กว้างขวางมากมาย ถ้าพวกเราตีความตรงนี้แตก พวกเราทำวิปัสสนาได้แน่นอน

ไม่สนใจตัวเองคือไม่ได้ปฏิบัติ

คนที่ไม่ปฏิบัติพอมันเกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดดี เกิดชั่ว มันไปสนใจของข้างนอก สนใจรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สนใจเรื่องราวที่คิดนึกเอา มันไม่สนใจตัวเอง ไม่สนใจที่จะอ่านตัวเอง อ่านว่าจิตใจตอนนี้เป็นอย่างไร พอไม่สนใจก็คือไม่ได้ปฏิบัติแล้ว ไม่ได้เรียนรู้กาย ไม่ได้เรียนรู้ใจ

Page 39 of 50
1 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50