ธรรมะอยู่ที่ตัวเราเอง
บางคนกังวลว่า ไม่ได้เจอหลวงพ่อแล้วจะไม่ได้ปฏิบัติ ไม่จริงหรอก เพราะว่าจริงๆ ธรรมะอยู่ที่ตัวเราเอง ถ้าหากเราเป็นนักปฏิบัติจริงๆ เราจะไม่รู้สึกว่าเราอยู่ไกลครูบาอาจารย์ แต่เราจะรู้สึกว่าครูบาอาจารย์อยู่กับเราทั้งวันเลย
หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
บางคนกังวลว่า ไม่ได้เจอหลวงพ่อแล้วจะไม่ได้ปฏิบัติ ไม่จริงหรอก เพราะว่าจริงๆ ธรรมะอยู่ที่ตัวเราเอง ถ้าหากเราเป็นนักปฏิบัติจริงๆ เราจะไม่รู้สึกว่าเราอยู่ไกลครูบาอาจารย์ แต่เราจะรู้สึกว่าครูบาอาจารย์อยู่กับเราทั้งวันเลย
จิตนี้อยู่ในร่างกายแต่ไม่ได้อยู่ตรงส่วนไหนของร่างกาย นี่คือความประหลาดของมัน จิตมันอยู่ไม่เกินกายนี้หรอก ไม่อยู่บนต้นไม้ ไม่อยู่ในท้องนา ไม่อยู่ที่ภูเขาหรอก จิตอยู่ในกาย แต่ไม่ได้อยู่ตรงส่วนไหนในกาย จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
ส่วนใหญ่ฆ่าตัวตายก็ต้องรับกรรม ตกนรกไป บางทีมีชีวิตอยู่มีความทุกข์ ก็ไปฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตายเสร็จแล้วมันก็เดินร้องไห้ไปเรื่อยๆ มันตกนรกแล้วล่ะ แต่นรกนั้นมันไม่ได้ถูกใครขัง นรกมันอยู่ที่จิตของตัวเอง สร้างภพตายซ้ำตายซากอยู่อย่างนั้น วนๆๆ แล้วฆ่าตัวตายซ้ำๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ฉะนั้นมันไม่มีข้อดีให้กับใครหรอก
สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่หลงอารมณ์ ตั้งมั่นอยู่เหนืออารมณ์ เหมือนดูมาจากที่สูง ยืนอยู่บนตึกเห็นรถวิ่งไปวิ่งมาอยู่ในถนน ตัวไม่หล่นลงไปอยู่ในถนน เห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ไม่ใช่สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง
สติสำคัญมาก ขาดสติคือขาดการปฏิบัติ มีสติคือมีการปฏิบัติ จะทำสมถะก็ต้องมีสติ จะทำวิปัสสนาก็ต้องมีสติ แต่ทำวิปัสสนาก็ต้องสติบวกปัญญา บวกสมาธิ บวกปัญญาเข้าไป ถ้าเราขาดสติตัวเดียว ก็ไม่ได้ภาวนาแล้ว
คำว่า ปัจจุบัน มี 2 อัน ปัจจุบันขณะ อย่างเราดูร่างกายนี่ต้องเป็นปัจจุบันขณะ แต่การดูนามธรรมนั้น เราจะดูในลักษณะที่เรียกว่า ปัจจุบันสันตติ เป็นปัจจุบันเหมือนกัน แต่เป็นปัจจุบันอีกแบบหนึ่ง คือมันสืบเนื่องอยู่กับปัจจุบัน
ดูจริตนิสัยเรา ถ้าเราเป็นพวกโลภมาก อยากมาก พวกตัณหาจริต สติปัฏฐานที่เหมาะกับพวกตัณหาจริตก็คือดูกายหรือเวทนา ถ้าพวกเจ้าความคิดเจ้าความเห็น เรียกว่า พวกทิฏฐิจริต สิ่งที่เหมาะสมก็คือจิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา
ดูจริตนิสัยเรา ถ้าเราเป็นพวกโลภมาก อยากมาก พวกตัณหาจริต สติปัฏฐานที่เหมาะกับพวกตัณหาจริตก็คือดูกายหรือเวทนา ถ้าพวกเจ้าความคิดเจ้าความเห็น เรียกว่า พวกทิฏฐิจริต สิ่งที่เหมาะสมก็คือจิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา
สนามรบของนักปฏิบัติมีอยู่ 4 แห่ง คือกาย เวทนา จิต ธรรม วิหารธรรม 4 อย่างนี้มีความหยาบความละเอียดที่แตกต่างกัน เวลาเราจะทำสงครามเราต้องรู้จักเลือกชัยภูมิ ว่าชัยภูมิอันไหนที่เราได้เปรียบ ไม่ใช่นึกจะรบตรงไหนก็ไปรบ อันนั้นโง่
บางคนก็เริ่มต้นดูกาย บางคนก็เริ่มต้นดูเวทนา บางคนก็เริ่มต้นดูจิต ทางใครทางมัน แต่ในสุดท้ายไม่ว่าจะดูกาย เวทนา หรือจิต หรือธรรม สุดท้ายมันก็ลงไปที่เดียวกัน เข้าไปสู่วิมุตติอันเดียวกัน เข้าไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นอันเดียวกัน เข้าไปสู่พระนิพพานก็อันเดียวกันนั่นล่ะ มันเป็นสภาวะที่เหมือนกัน