ศีลด่างพร้อยเพราะโทสะ ไม่มีเมตตากับสัตว์เลี้ยง
คำถาม: ในรูปแบบสวดมนต์ นั่งสมาธิ มีสติอยู่กับการเจริญเม …
หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
คำถาม: ในรูปแบบสวดมนต์ นั่งสมาธิ มีสติอยู่กับการเจริญเม …
คำถาม: จิตมีพัฒนาการ กิเลสบางตัวเห็นแล้วละได้บ้าง เช่น …
คำถาม: ภาวนาด้วยการนั่งสมาธิ เดินจงกรม รู้สึกตัวในชีวิต …
การปฏิบัติธรรมถ้าเราทำสมถะ สมถะไม่เลือกอารมณ์ อารมณ์อะไรก็ได้ สิ่งที่เรียกว่าอารมณ์ หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ อารมณ์เป็นของที่คู่กับจิต เมื่อไรมีจิตเมื่อนั้นมีอารมณ์ เมื่อไรมีอารมณ์เมื่อนั้นก็ต้องมีจิต ของคู่กัน
เรื่องของสมถะไม่ใช่มีแค่เรื่องเข้าฌาน ไม่ได้แคบแค่นั้นหรอก สมถกรรมฐานในตำราเขาบอกไว้ว่าใช้อารมณ์อะไรก็ได้ อารมณ์บัญญัติ คือเรื่องราวที่คิดก็ได้ อย่างคิดเรื่องปฏิกูลเรื่องอสุภะ คิดพิจารณาร่างกาย คิดอะไรนี้ เป็นเรื่องคิดทั้งนั้น หรือคิดพิจารณาชีวิต พิจารณาซากศพ เป็นเรื่องคิดเอา ไม่มีสภาวธรรมรองรับ เรียกว่าอารมณ์บัญญัติ ก็ใช้ทำสมถะได้ อารมณ์รูปธรรมก็ใช้ทำสมถะได้ อย่างหายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก ลมหายใจเป็นรูป เดินจงกรม เห็นร่างกายมันเดินแล้วคอยรู้สึกไว้ จิตไม่วอกแวกไปที่อื่น นี่ก็เป็นสมถะ เห็นท้องพองเห็นท้องยุบจิตไม่หนีไปที่อื่น อันนี้ก็เป็นสมถะ ใช้รูปก็ได้ ใช้นามก็ได้ ทำสมถะ
ต้องมาฝึกจิตให้มันตั้งมั่นจริงๆ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง จิตเคลื่อนไปไหนก็รู้ จิตหลงไปคิดก็รู้ จิตถลำลงไปเพ่งก็รู้ รู้อย่างนี้เยอะๆ จิตมันจะค่อยตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา คราวนี้ไม่ได้เจตนาเลย แล้วพอจิตมันตั้งมั่น สติระลึกรู้กาย เห็นเลยกายไม่ใช่เรา ระลึกรู้เวทนา เวทนาไม่ใช่เรา ระลึกรู้สังขาร สังขารไม่ใช่เรา สุดท้ายก็ระลึกรู้จิต จิตก็ไม่ใช่เรา หรือถ้าชำนาญจริง สมาธิพอ ดูโลกข้างนอก จักรวาลข้างนอก โลกข้างนอก คนอื่นๆ ตัว ร่างกาย จิตใจนี้ มันอันเดียวกัน มันก็คือวัตถุ มันคือก้อนธาตุอันเดียวกันนั่นล่ะ เหมือนกันหมด เสมอกันหมด มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เสมอกันหมด
การที่เราจะเจริญสติปัฏฐานจะด้วยกาย เวทนา จิต หรือธรรม อันใดอันหนึ่ง ก็ทำไปเพื่อให้เกิดสติบ่อยๆ สติปัฏฐานนั้นมีวัตถุประสงค์ 2 อย่าง มี 2 ระดับ เบื้องต้นทำไปเพื่อความมีสติ เบื้องปลายทำไปเพื่อความมีปัญญา หมายถึงเราไม่ต้องเรียนกายทั้งหมด เราไม่ต้องเรียนเวทนาทั้งหมด เราไม่ต้องเรียนจิตทั้งหมด ไม่ต้องเรียนธรรมะทั้งหมด เราเรียนบางอย่างบางข้อ ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นแล้ว เราจะเข้าใจธรรมะทั้งหมด เป็นการสุ่มตัวอย่างมาเรียน ไม่ได้ผิดอะไรกับการทำงานวิจัยภาคสนามเลย การที่พระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐาน สอนไม่ได้แตกต่างกับหลักที่หลวงพ่อบอกเลย สุ่มตัวอย่างมาเรียน ถ้าเข้าใจในสิ่งที่เรียนแล้วจะเข้าใจทั้งหมด แล้วพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ให้เราไปสุ่มส่งเดช ท่านกำหนดหัวข้อมาให้แล้ว
คำถาม: ชีวิตติดกับความหดหู่ เพราะแมวที่เลี้ยงไว้ป่วย จ …
เราไม่จำเป็นต้องทำกรรมฐานแบบจะไปดูจิตดูใจอะไรอย่างเดียว รู้สึกร่างกายไว้ ดูไปสิ ร่างกายไม่เคยโกรธเลย ความโกรธเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แทรกเข้ามา รู้สึกกายบ่อยๆ แล้วจะเห็นร่างกายเป็นวัตถุธาตุ ไม่ใช่ตัวเรา ความโกรธก็ไม่ใช่ตัวเรา ความโกรธไม่ใช่ร่างกายด้วย ความโกรธไม่ใช่จิตใจด้วย ค่อยๆ แยกๆๆ ไป แล้วก็เจริญเมตตาให้เยอะหน่อย วิธีเจริญเมตตาไม่ใช่นั่งท่อง วิธีเจริญเมตตาก็คือหัดเอาใจเขามาใส่ใจเรา อย่างเราโกรธใครเกลียดใคร เราลองสมมติตัวเองว่าถ้าเราเป็นเขา อยู่ในสถานการณ์อย่างเขา ในเงื่อนไข ในข้อจำกัดอย่างเขา เราจะคิดเหมือนเขาไหม บางทีเราคิดเหมือนกัน เราก็จะทำอย่างที่สิ่งที่เราไปว่าคนอื่นเขานั่นล่ะ พอเราเข้าใจ เกิดความเข้าใจแล้ว โทสะมันจะหาย
เวลามีความเมตตาเกิดขึ้น คนแรกที่ได้รับประโยชน์คือตัวเราเอง ใจที่มีเมตตามันนุ่มนวล อ่อนโยน มันเบาสบาย มันเป็นกุศล ใครเข้าใกล้เราก็พลอยร่มเย็นไปด้วย ถ้าใจเราคิดแต่ประหัตประหาร เบียดเบียน แย่งชิงทุกสิ่งทุกอย่างจากคนอื่น ใครเขาเข้าใกล้เราเขาหวาดผวา หาความสุขไม่ได้ ฉะนั้นเมตตาไม่เพียงแต่ตัวเองได้ประโยชน์ ผู้อื่นคือสัตว์โลกทั้งหลายได้ประโยชน์ด้วย
ความชั่วอะไรที่ยังไม่ละก็ละเสีย อย่าไปทำชั่วซ้ำขึ้นมาอีก ความดีอะไรยังไม่ทำก็ทำเสีย ความดีอะไรที่ทำแล้วก็รักษาเอาไว้ ไม่หลงโลก แบ่งเวลาไว้ภาวนาทุกวันๆ เจริญสติ สมาธิ ปัญญาไป ใจเราก็สูงๆๆ ขึ้นไปเรื่อยเป็นลำดับไป จนถึงโลกุตตระ