ระหว่างวันพยายามรู้สึกตัว ถ้าวันไหนยุ่งอยู่กับงานมาก จะรู้สึกตัวได้น้อย ตอนกลางคืนปฏิบัติในรูปแบบ จิตมักตกภวังค์
คำถาม: ภาวนาโดยใช้ “เมตตา คุณณัง อะระหัง เมตตา” เป็นวิห …
หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
คำถาม: ภาวนาโดยใช้ “เมตตา คุณณัง อะระหัง เมตตา” เป็นวิห …
คำถาม: มีงานวิจัยว่านั่งสมาธิแล้วฉลาด ผมเลยนั่ง แต่ไปเพ …
แต่ละวันจิตใจของเราไม่เคยเหมือนกันเลย แล้วเราก็บังคับไม่ได้ เขาสอนธรรมะเรา สอนความไม่เที่ยงให้เราเห็น วันนี้เป็นอย่างนี้ๆ มีแต่ความไม่เที่ยง แล้วก็เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้ สั่งให้สุขก็ไม่ได้ ห้ามทุกข์ก็ไม่ได้ ค่อยๆ สังเกต แต่ละวันจิตเราไม่เหมือนกัน พอเราดูตรงนี้ออก เราก็มาสังเกตให้ละเอียดขึ้นไป ในวันเดียวกัน แต่ละช่วงเวลา จิตใจเราก็ไม่เหมือนกัน ตอนเช้า จิตใจเราแบบหนึ่ง ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนเย็น ตอนค่ำ ตอนดึก วันเดียวกันแท้ๆ จิตใจเราก็ไม่ค่อยเหมือนกันแล้ว เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
เราสังเกตตัวเอง เริ่มสังเกตหยาบๆ หัดสังเกตว่าแต่ละวันจิตใจเราไม่เหมือนกัน ต่อมาเราก็สังเกตได้ละเอียดขึ้น ในวันเดียวกัน แต่ละช่วงเวลา จิตใจเราไม่เหมือนกัน
เราค่อยๆ ปฏิบัติ ทำสม่ำเสมอไป เราก็เห็นได้ประณีตขึ้น ทีแรกรู้หยาบๆ แต่ละวันจิตเราไม่เหมือนกัน ในวันเดียวกัน เช้า สาย บ่าย เย็น ไม่เหมือนกัน นึกถึงวันก่อนช่วงเวลาเดียวกัน แต่ละวัน จิตใจก็ไม่เหมือนกัน พอดูได้ละเอียด เราจะเห็นจิตใจเราเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ในช่วงเวลาเช้าๆ จิตก็เปลี่ยนไปตั้งเยอะตั้งแยะ
การมีเพื่อนร่วมทางที่ดี มันหนุน มันเสริมซึ่งกันและกัน เวลาคนหนึ่งขี้เกียจ อีกคนหนึ่งขยันอยู่ กระตุ้นกัน โอ๊ย เราจะขี้เกียจได้อย่างไร เพื่อนเราเขายังภาวนาเข้มแข็งอยู่เลย แล้วเราจะมาขี้เกียจอยู่ ไม่ได้เรื่อง การจะหาเพื่อนร่วมทาง ก็ต้องเลือกให้ดี หลักก็คือหาคนที่ดีกว่าเรา มีศีล มีธรรม หรือเสมอกันอย่างต่ำ ฉะนั้นเพื่อนสำคัญในชีวิตเรา คู่ชีวิตเรา แต่ละคนก็มี มีสามี มีภรรยา ถ้าเราได้สามี ได้ภรรยาที่เสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีทิฏฐิ ความคิดความเห็นเสมอกัน ดีด้วยกัน ก็พากันไป ก้าวหน้ากันไป อันนั้นเรียกว่าเรามีเพื่อนร่วมทางที่ดี
คำถาม: นั่งสมาธิหายใจพุทโธ พอลมหายใจละเอียดขึ้น จะเห็นต …
คำถาม: นั่งสมาธิวันละ 30 นาที และเจริญสติรู้สึกตัวในชีว …
คำถาม: ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิทุกวัน แต่จิตใจไม่ดีขึ้ …
คำถาม: ปฏิบัติในรูปแบบด้วยการสวดมนต์ เดินจงกรมพร้อมบริก …
การปฏิบัติธรรมถ้าเราทำสมถะ สมถะไม่เลือกอารมณ์ อารมณ์อะไรก็ได้ สิ่งที่เรียกว่าอารมณ์ หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ อารมณ์เป็นของที่คู่กับจิต เมื่อไรมีจิตเมื่อนั้นมีอารมณ์ เมื่อไรมีอารมณ์เมื่อนั้นก็ต้องมีจิต ของคู่กัน
เรื่องของสมถะไม่ใช่มีแค่เรื่องเข้าฌาน ไม่ได้แคบแค่นั้นหรอก สมถกรรมฐานในตำราเขาบอกไว้ว่าใช้อารมณ์อะไรก็ได้ อารมณ์บัญญัติ คือเรื่องราวที่คิดก็ได้ อย่างคิดเรื่องปฏิกูลเรื่องอสุภะ คิดพิจารณาร่างกาย คิดอะไรนี้ เป็นเรื่องคิดทั้งนั้น หรือคิดพิจารณาชีวิต พิจารณาซากศพ เป็นเรื่องคิดเอา ไม่มีสภาวธรรมรองรับ เรียกว่าอารมณ์บัญญัติ ก็ใช้ทำสมถะได้ อารมณ์รูปธรรมก็ใช้ทำสมถะได้ อย่างหายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก ลมหายใจเป็นรูป เดินจงกรม เห็นร่างกายมันเดินแล้วคอยรู้สึกไว้ จิตไม่วอกแวกไปที่อื่น นี่ก็เป็นสมถะ เห็นท้องพองเห็นท้องยุบจิตไม่หนีไปที่อื่น อันนี้ก็เป็นสมถะ ใช้รูปก็ได้ ใช้นามก็ได้ ทำสมถะ
ความรู้สึกตัว เป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญที่สุดเลยสำหรับการปฏิบัติ พวกเราต้องรู้สึกตัวให้ได้ หลุดออกจากโลกของความฝัน มาอยู่ในโลกของความจริงให้ได้ มีกายก็ให้รู้สึกว่ามันมีร่างกาย มีจิตใจก็รู้สึกถึงความมีอยู่ของจิตใจ ไม่ใช่มีกายก็ลืม มีใจก็ลืม คิดฝันเพ้อเจ้อตลอดเวลา ถ้าเราสามารถรู้สึกกายรู้สึกใจได้ เราก็จะสามารถเรียนรู้ ความจริงของร่างกายของจิตใจได้ ว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา