ทาน ศีล ภาวนา

พระพุทธเจ้าท่านสอนเรา ให้รู้จักทำทาน หมายถึงแบ่งปันส่วนที่เกิน ให้ส่วนที่เกินไปกับคนที่เขาจำเป็นกว่าเรา อย่างเรามีเสื้อผ้าเยอะ ช่วงนี้ฤดูหนาว คนที่เขาขาดแคลน เขาจำเป็นต้องใช้เสื้อผ้าอันนี้มากกว่าเรา พวกเราไม่จำเป็นเท่าไร มีมากอะไรอย่างนี้ ท่านสอนให้รู้จักให้ทานเพื่อลดละความเห็นแก่ตัว การฝึกจิตใจที่สูงขึ้นมาคือการรักษาศีล หลวงพ่อแนะนำ พวกเราควรจะถือศีล 5 ให้ได้ ศีล 5 จำเป็นสำหรับความเป็นมนุษย์ ถ้าเรามีความสามารถพิเศษ เราจะรู้เลย สัตว์ในอบายภูมิมากมาย ที่ไปสู่อบายภูมิเพราะไม่มีศีลมาถึงภาวนา ภาวนาเป็นงานของจิตทั้งสิ้นเลยเป็นงานพัฒนาจิตโดยตรง มี 2 งาน งานหนึ่งเป็นการพัฒนาจิตให้สงบและตั้งมั่น งานที่สองเป็นการฝึกจิตให้ฉลาดรอบรู้ เข้าใจความจริงของโลก ของชีวิต พระพุทธเจ้าท่านบอก บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นมันต้องผ่านงานที่สองถึงจะเข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ถ้าลำพังมีแต่แค่งานที่หนึ่ง ทำสมาธิเพื่อความสุขความสงบ ยังไม่บรรลุมรรคผลหรอก ยังไม่พ้นทุกข์หรอก แค่มีความสุขชั่วครั้งชั่วคราวตอนทำสมาธิ

อุบายฝึกจิตให้สงบ

สมถกรรมฐานเป็นอุบายฝึกจิตให้สงบ จิตจะสงบได้ต้องน้อมจิต ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง คีย์เวิร์ดอยู่ตรงนี้ ธรรมะที่มากมายมหาศาล ในภาคของสมถะ หลวงพ่อรวบลงมาเหลือแค่นี้เอง “น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง” มันเป็นการน้อมจิตไป อย่างถ้าเรามีความสุขกับการหายใจ ทำอานาปานสติแล้วมีความสุข เราก็หายใจให้จิตจดจ่ออยู่กับการหายใจ แป๊บเดียวก็สงบแล้ว

หรือบางคนชำนาญในแสงสว่าง หลับตาลงก็กำหนดจิต มันก็สว่างขึ้นมาแล้ว มีความสุขอยู่กับแสงสว่าง ก็น้อมจิตไปอยู่กับแสงสว่างอย่างต่อเนื่อง แค่น้อมๆ ไป ไม่ได้บังคับ ถ้าบังคับไม่รอดหรอก อย่างเราจะหายใจจิตมันจะหนี เราบังคับมัน ต้องอยู่กับลมๆ อยู่ด้วยความไม่มีความสุข อยู่อย่างไม่มีความสุข ทำอย่างไรจิตก็ไม่สงบ เคล็ดลับมันอยู่ที่ว่า “ต้องมีความสุข” ใช้จิตใจธรรมดาๆ จิตใจสบายๆ ไปรู้อารมณ์ที่รู้แล้วสบาย แล้วก็รู้ไปแบบสบายๆ มี 3 สบาย ใช้จิตใจธรรมดา จิตใจสบายๆ นี้ ไปรู้อารมณ์ที่รู้แล้วสบาย แล้วก็รู้ไปอย่างสบายๆ ไม่ได้รู้แล้วก็พยายามบังคับจิตให้สงบ ถ้าเราทำ 3 สบายนี้ได้ สงบทันทีเลย ทำเมื่อไรก็ทำได้ ไม่ยากอะไรหรอก ให้มันได้เคล็ดลับตรงนี้ไป

ภาวนาไปตามลำดับ

ค่อยๆ ภาวนา ทำไปตามลำดับ ฟังแล้วเหมือนยาก มันยากก็เพราะว่า เราต้องทำมาตามขั้นตอนแล้วมันไม่ยาก ถ้าทำข้ามขั้นตอนมันยาก เรายังไม่ถึงขั้นจะข้ามภพข้ามชาติ ภาวนาค่อยๆ ดูเท่าที่เราดูได้ สิ่งที่เราดูเห็น อะไรที่ยังไม่เห็นไม่ต้องคิดมาก เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญาไป เดี๋ยววันหนึ่งก็เห็นเอง วันนี้ไม่เห็นไม่เป็นไร

ตอนนี้สิ่งที่เราหัดเห็น หัดเห็นสภาวธรรม สภาวะของรูปธรรม สภาวะของนามธรรม หัดรู้หัดเห็นตัวนี้ สภาวธรรมมีอีกอย่างหนึ่งคือพระนิพพาน พวกเรายังไม่สามารถรู้เห็นได้ คนที่เห็นพระนิพพานได้ ต้องพระโสดาบันขึ้นไป อย่างได้โสดาบัน บางทีจะให้จิตไปอยู่กับพระนิพพาน ก็พิจารณาขันธ์ 5 ลงเป็นไตรลักษณ์ แล้วพอมันวางขันธ์ 5 มันจะทวนกระแสเข้ามาที่จิต จะสัมผัสพระนิพพาน เพราะมันวางกระแสของโลกไป แต่อย่างเราเป็นปุถุชน ยังไม่เห็นนิพพาน เราก็แขวนเอาไว้ก่อน ไม่ต้องไปหา หาเท่าไรก็ไม่เจอ มันไม่มีร่องรอยให้เห็นหรอก เราดูสิ่งที่เราดูได้

ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ถ้าใจเราเข้าใจความจริงตรงนี้ ใจจะค่อยๆ คลายออกจากโลก อย่างร่างกายเรามันก็เปลี่ยนแปลงทุกวัน จิตใจเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เฝ้ารู้เฝ้าดู โลกข้างนอกก็เหมือนกัน ก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เดี๋ยวก็ปีหนึ่งๆ หนึ่งปีผ่านไป โลกข้างนอกก็เปลี่ยนไป ร่างกายเราก็เปลี่ยนไป จิตใจเราก็เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ วุ่นวายไปเรื่อยๆ ถ้าคนไหนทำกรรมฐาน 1 ปีผ่านไป จิตใจเราก็สงบ ตั้งมั่น แข็งแรงมากขึ้น ถ้าตามใจกิเลส 1 ปีผ่านไป จิตใจก็ยิ่งลำบากมากขึ้น ไม่มีอะไรคงที่ ชั่วหรือดีก็ไม่คงที่เหมือนกัน

เรียนรู้ให้เห็นความจริง เราไม่ได้มุ่งไปที่ความดี ความสุข ความสงบอะไรหรอก เพราะความดีไม่เที่ยง ความสุขไม่เที่ยง ความสงบไม่เที่ยง เราทำกรรมฐานเพื่อให้จิตมันเห็นความจริง ป้อนความจริงไว้ให้จิตดู ความจริงของร่างกายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความจริงของจิตใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แม้แต่โลกภายนอกก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ป้อนข้อมูลที่ดีๆ อย่างนี้ ข้อมูลที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ป้อนเข้าไปให้จิตมันเรียนรู้ไป พอมันรู้ความจริง เดี๋ยวมันก็วางโลกเอง โลกไม่มีอะไรนอกจากทุกข์

ธรรมะช่วยเราได้สารพัด

ธรรมะช่วยเราได้สารพัด แต่เราไม่เข้าใจคำว่า ธรรมะๆ คิดว่าธรรมะคือการนั่งสมาธิ เดินจงกรม อันนั้นตื้นเกินไป การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผลก็เป็นธรรมะแล้ว เป็นธรรมะเพื่อการอยู่กับโลก ธรรมะที่อยู่กับโลก พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้เยอะแยะ จะดูแลครอบครัวอย่างไร ดูแลลูกน้องอย่างไร จะปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างไร ท่านสอนไว้เยอะแยะ เอาไปทำได้ก็ดี ถ้าง่ายที่สุดก็คือเรียนรู้ทันจิตใจตัวเอง ไม่ว่าจะคิดอะไร จะพูดอะไร จะทำอะไร อย่าให้กิเลสมันครอบงำ

เวลาโกรธแล้วรู้ทัน ความโกรธดับไป แต่ความโกรธก็ผุดขึ้นมาใหม่ อยากรู้ว่าถ้าสติตัวจริงเกิด ทำไมความโกรธยังผุดขึ้นมาเรื่อยๆ

คำถาม: สมถะ ใช้ดูลมหายใจ ในชีวิตประจำวัน ใช้ดูจิต เวลาโ …

Read more

รักกายมาก กลัวมันตาย เวลาภาวนาจึงมักจะน้อมจิตให้เบลอๆ ซึมๆ คิดว่าเวลาเหลือน้อยแล้ว อยากตั้งใจปฏิบัติ แต่พอร่างกายกลับมาแข็งแรง จิตก็กลับมาประมาทเหมือนเดิม ไม่เข็ดหลาบ

คำถาม: รักกายมาก กลัวมันตาย เวลาภาวนาจึงมักจะน้อมจิตให้ …

Read more

เห็นตัวเองมีกามราคะมาก จึงรักษาพรหมจรรย์อีก 1 ข้อ ขณะที่เห็นจิตเกิดราคะ โกรธหลง มันจะค่อยๆ หายไป

คำถาม: รักษาศีล 5 เห็นตัวเองมีกามราคะมาก จึงรักษาพรหมจร …

Read more

ไม่แน่ใจความหมายของคำว่าภาวนา พยายามรู้สึกตัว ดูข้อเสียเบื้องหลังของตัวเอง พื้นฐานคิดมาก วกวนและคิดร้าย

คำถาม: ไม่แน่ใจความหมายของคำว่า ภาวนา มีศรัทธาต่อศาสนา …

Read more

มีปัญหาครอบครัว และปัญหาของตัวเอง ทำให้จิตมีแต่โทสะและอกุศล การดูกายไม่เคยเห็นว่าไม่เที่ยง

คำถาม: มีปัญหาครอบครัว และปัญหาของตัวเอง ทำให้จิตมีแต่โ …

Read more

Page 24 of 63
1 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 63