รู้ตัวว่าขาดสมาธิ จึงเน้นการฝึกรู้สึกตัวให้ได้เนืองๆ โดยรวมคิดว่ามีความเข้าใจในการปฏิบัติมากขึ้น แต่บางครั้งก็เกิดงงว่าทำถูกทางหรือไม่
คำถาม: ในรูปแบบใช้การเดินรู้สึกเป็นหลัก เพราะนั่งแล้วเค …
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์
คำถาม: ในรูปแบบใช้การเดินรู้สึกเป็นหลัก เพราะนั่งแล้วเค …
พวกเราต้องหัดรู้สภาวะให้ได้ แล้วสภาวะที่เราต้องหัดรู้ คือสภาวะที่เรารู้ได้ เราเห็นได้ อะไรที่เราไม่รู้ไม่เห็น ไม่ต้องหรอก ค่อยๆ ดูไป แล้วใช้จิตเป็นวิหารธรรม สิ่งที่เกิดกับจิตนั้นก็เวทนาเกิดร่วมกับจิต สัญญาเกิดร่วมกับจิต สังขารเกิดร่วมกับจิต แล้วก็จิตก็ทำงานทางอายตนะ ตรงที่เห็นจิตทำงานทางอายตนะ มันขึ้นสู่ธัมมานุปัสสนาแล้ว เราดูสิ่งที่เราดูได้ อันไหนเราทำไม่ได้ อย่าไปทำ ทำที่ทำได้
เราก็จะเห็นแต่ละตัวๆ แต่ละสภาวะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปทั้งสิ้น เราต้องการจะมาเห็นตรงนี้ เราไม่ได้ต้องการเห็นว่าราคะไม่เที่ยงแต่โทสะมันเที่ยง ไม่ใช่ ทุกตัวเหมือนกันหมดเลย สุขหรือทุกข์ก็เสมอกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์ กุศลหรืออกุศลก็เสมอกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์ ดูให้มันเห็นไตรลักษณ์ ย้ำ ขีดเส้นใต้คำว่าเห็น ไม่ใช่คิด ต้องเห็นเอา ฉะนั้นวิปัสสนา วิปัสสนะก็คือวิ แปลว่าแจ้ง ปัสสนะ คือการเห็น ต้องเห็นเอา คิดเอาไม่ได้ เพ่งเอาก็ไม่ได้ ต้องเห็นเอา
อันแรกถือศีลไว้ แล้วก็ฝึกสติของเรา คอยระลึกรู้กาย คอยระลึกรู้ใจเนืองๆ ต่อไปไม่ได้เจตนาระลึก พอมีอะไรเกิดขึ้นในกาย สติเกิดเอง มีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ สติเกิดเอง สติตัวนี้เป็นสัมมาสติแล้ว แล้วจิตมันเคลื่อนไปๆ หลงไปที่อื่น รู้ทัน หลงไปในอารมณ์กรรมฐาน รู้ทัน หลงไปแสวงหาอารมณ์ว่าจะดูอะไรดี ควานๆๆ รู้ทัน สติรู้ จิตก็เด่นดวงขึ้นมา เป็นผู้รู้ขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา
อารมณ์มี 2 ส่วน อารมณ์หนึ่งเป็นสภาวธรรม อีกส่วนหนึ่งไม่ใช่สภาวธรรม เป็นเรื่องสมมติบัญญัติ ไม่มีสภาวะรองรับ อย่างเรื่องราวที่เราคิดอาศัยความจำ เรื่องราวที่คิดขึ้นมาท่านเรียกอารมณ์บัญญัติ อารมณ์บัญญัติไม่จัดว่าเป็นสภาวธรรม อารมณ์ที่เป็นสภาวธรรมมันมี 3 อย่างคือรูปธรรม รูปที่จิตไปรู้เข้าเป็นอารมณ์ เรียกอารมณ์ปรมัตถ์ เป็นอารมณ์จริงๆ เป็นของมีจริง มีไตรลักษณ์ เวลาดูที่จะเจริญปัญญา ต้องเห็นสภาวธรรมซึ่งเป็นปรมัตถธรรม
การภาวนาเราตัดตรงเข้ามาเรียนรู้ที่จิตเป็นหนทางปฏิบัติที่ลัดสั้น แต่บางคนไม่มีกำลังที่จะตัดตรงเข้ามาเรียนจิต ก็เรียนทางกายไปก่อน หัดรู้กายไปก่อน รู้กายถูกต้อง ชำนิชำนาญต่อไปจิตก็มีกำลังขึ้นมา ตั้งมั่นขึ้นมา มันก็จะค่อยมาดูจิตได้ทีหลัง ฉะนั้นดูกายต่อไปก็เห็นจิต แต่ถ้าดูจิตได้ก็ดูไปเลย มิฉะนั้นเสียเวลา อันนี้ไม่ใช่หลวงพ่อคิดเอาเอง เป็นคำสอนที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมา หลวงปู่มั่นบอกว่าดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ถ้าดูจิตไม่ได้ ดูกายไม่ได้ทำสมถะ ท่านสอนอย่างนี้ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็บอกว่าการดูจิตเป็นการปฏิบัติที่ลัดสั้นที่สุด คือตัดตรงเข้ามาที่นี่เลย คนเราจะดี จะชั่ว จะสุข จะทุกข์ก็เพราะจิต จะเกิดในภพภูมิอะไรก็เพราะจิต ฉะนั้นตัดตรงเข้ามาที่จิต ตรงนี้ก็เร็ว ไปได้เร็ว