หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
มีสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
หลักของการปฏิบัติที่จะให้เกิดสติปัญญาแท้ๆ เกิดมรรคเกิดผลได้ มีไม่มากหรอก จำหลักสั้นๆ ไว้นิดเดียว
ให้เรามีสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
หลวงพ่อไปรวบรวมหลักของการทำวิปัสสนากรรมฐาน ย่อลงมาเหลือเท่านี้เอง
ถ้าพูดให้ถูกๆ ก็มีสติรู้รูป รู้นาม ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
รูปธรรม นามธรรมนั่นเอง
เรียนรู้รูปธรรมนามธรรมที่ประกอบกันเป็นตัวเรา
ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
จากซีดีแสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗ ไฟล์ 531010A
สัทธรรมปฏิรูป
กรรมฐานที่เหมาะกับเรา
เห็นทุกข์ด้วยสติปัฏฐาน
ต้องปฏิบัติให้ครบทั้งศีล สมาธิ ปัญญา
การทำสมาธิกับการเจริญปัญญา
จิตตั้งมั่นทำให้เราเจริญปัญญาได้
สัจฉิกิริยา
บูชาคุณพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติ
หลักสูตรการฝึกสติคือสติปัฏฐาน
“การปฏิบัติธรรมมี ๓ อัน อันแรก เราต้องรักษาศีล ๕ ข้อไว้ อันที่สอง คือการทำในรูปแบบ อันที่สาม คือการทำในชีวิตประจำวัน ต้องทำ
ครูบาอาจารย์ท่านสอน หัวใจของการปฏิบัติ คือ การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพราะว่าชีวิตส่วนใหญ่ของเราอยู่ธรรมดานี่เอง เราไม่ได้นั่งเข้าฌานอยู่ที่ไหนเมื่อไร วันๆ หนึ่งจะทำสมาธิ เดินจงกรมได้สักเท่าไร โดยเฉพาะฆราวาส ทำได้ไม่มาก ชีวิตส่วนใหญ่เราอยู่กับโลกธรรมดานี่เอง
ถ้าเราสามารถหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตธรรมดาของเรานี้ได้ เราก็จะไปได้เร็วมาก ไม่แพ้พระ ในขั้นต้นๆ โสดาฯ สกาทาคาฯ ฆราวาสไม่แพ้พระหรอกในเรื่องของความเร็ว ถ้ารู้หลักของการปฏิบัติ แล้วตั้งใจปฏิบัติจริงๆ อาจจะเร็วกว่าพระด้วยซ้ำไป”
พระธรรมเทศนาหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แผ่นที่ ๗๘ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๑ (ไฟล์ 611007A)
ธรรมะหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ช่วงส่งการบ้าน
รู้สึกตัวเองเหมือนคนปฏิบัติไม่เป็น ชอบคิดว่าเป็นเพราะไม่ได้เรียนหนังสือจึงไม่รู้เรื่องอะไรเลย
อยากทราบเรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ท่านมีความทุกข์มาก ถ้าเราทำหน้าที่นี้ไม่ดี จะขัดขวางการภาวนาของเราหรือไม่
นั่งสมาธิเริ่มเข้าฐาน มีอาการเคลิ้มคล้ายกึ่งหลับกึ่งตื่น บางครั้งเคลิ้มๆ แล้ววูบเหมือนตกจากที่สูง ทำให้สะดุ้งตื่นจากสมาธิ ที่ปฏิบัติมารู้สึกวนเวียนที่เดิมไม่เห็นอะไรเลย
ช่วงนี้มีภาระหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น รู้สึกกำลังจิตอ่อนลง
กิเลสบางตัวเห็นแล้วละได้บ้าง เช่น โทสะ โลภะ โมหะ กิเลสบางตัวเห็นแล้ว แต่ละไม่ได้เลย เช่น ราคะ อยากกอดลูก และมานะ อีโก้
วันหยุดจะปฏิบัติได้มากกว่าวันทำงาน คิดว่าหากยังต้องทำงาน ความก้าวหน้าในการภาวนาจะเกิดได้ยาก มีเรื่องกวนใจ ใช้ความคิดในงานมาก
การมีคู่ชีวิตจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงหรือไม่
พอจิตมีแรง เราก็ต้องเอาจิตไปทำงาน ไปทำวิปัสสนา
ใช้อานาปานสติ มีลมหายใจเป็นวิหารธรรม มีความต้องการที่จะละสักกายทิฏฐิในชาตินี้ให้ได้
จิตมีความอยากดี ติดการประคองรักษาจิต